คณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 3
คณะรัฐมนตรีมโนปกรณนิติธาดา 3 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 แห่งราชอาณาจักรสยาม | |
เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |
วันแต่งตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 |
วันสิ้นสุด | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (0 ปี 80 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
จำนวนรัฐมนตรี | 16 |
จำนวนอดีตรัฐมนตรี | 4 |
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด | 20 |
ประวัติ | |
สภานิติบัญญัติ | ผู้แทนราษฎรชั่วคราว |
วาระสภานิติบัญญัติ | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 2 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 4 |
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี จากการรัฐประหารเงียบ ยึดอำนาจรัฐบาลตนเองใน พ.ศ. 2476 ตามความในข้อ 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ๒๔๗๖ ซึ่งในประกาศนั้นบัญญัติให้รัฐมนตรีผู้ซึ่งว่าการกระทรวงต่าง ๆ อยู่ในเวลายุบสภาเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีใหม่โดยตำแหน่ง พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญ(บางมาตรา) ตามความในข้อ 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา[1] ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ในประกาศตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
[แก้]รัฐมนตรีว่าการกระทรวง | ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี | ||
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง | แต่งตั้งเพิ่ม | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น | ||
รัฐมนตรีลอย | ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ออกจากตำแหน่ง |
- คณะราษฎร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 ของไทย | |||||||||
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | ||||
นายกรัฐมนตรี | * | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
พระคลังมหาสมบัติ | * | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
กลาโหม | 1 | นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
ต่างประเทศ | 2 | พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
เกษตรพาณิชยการ | 3 | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
ธรรมการ | 4 | เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
มหาดไทย | 5 | พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
ยุติธรรม | 6 | พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | |||||
7 | พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
8 | พลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
9 | พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ลาออก | ||||||
พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ลาออก | ||||||
พันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ลาออก | ||||||
พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ลาออก | ||||||
10 | พันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
11 | นาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
12 | นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
13 | พันโท ประยูร ภมรมนตรี | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
14 | นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม (แก๊บ สรโยธิน) | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | ||||||
15 | นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2476 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 |
การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี
[แก้]- 18 มิถุนายน 2476
- ลาออก - พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน), พันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) และพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยอ้างเหตุผลว่าได้รับราชการตรากตรำมาครบ 1 ปีแล้วและมีความเจ็บป่วยเนืองๆ
- แต่งตั้ง - นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม (แก๊บ สรโยธิน) และนายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) เป็นรัฐมนตรี
การแถลงนโยบายของรัฐบาล
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะนี้ไม่มีการแถลงนโยบาย
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเพราะมีประกาศให้เปิดสภาผู้แทนราษฎรโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญ
อ้างอิง
[แก้]- คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เก็บถาวร 2008-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เก็บถาวร 2012-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน