มานะ รัตนโกเศศ
พลเอก มานะ รัตนโกเศศ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม 2533 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2531 – 26 สิงหาคม 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | มารุต บุนนาค |
ถัดไป | พล.อ. เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กันยายน พ.ศ. 2468 จังหวัดนครพนม ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 11 มกราคม พ.ศ. 2545 (76 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรค | พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529) |
คู่สมรส | เฉลิมศรี รัตนโกเศศ |
พลเอก มานะ รัตนโกเศศ (16 กันยายน พ.ศ. 2468 - 11 มกราคม พ.ศ. 2545) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม 3 สมัย
ประวัติ[แก้]
พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2468 ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นบุตรของหลวงบภิบาลวรเดช (กัน รัตนโกเศศ) กับ นางบุญรอด รัตนโกเศศ[1] สำเร็จการศึกษาหลักสูตรนายร้อยเทคนิค จาก โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การทำงาน[แก้]
พล.อ. มานะ เริ่มรับราชการ ด้วยการร่วมรบในสงครามเอเชียบูรพา ใน พ.ศ. 2487 จากนั้นได้ร่วมรบกับสหประชาชาติ ใน สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม และดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง อาทิ
- นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- รองเสนาธิการทหารบก
- ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ทางการทหารเรื่อยมา จนเกษียณอายุราชการ ในตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์
งานการเมือง[แก้]
พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 รวม 3 สมัย [2]
นอกจากนี้ พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ เคยดำรงดำแหน่งเลขาธิการ และ หัวหน้าพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
พล.อ. มานะ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2529 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2531[3] และได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี (2 สมัย) ในรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย[4][5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
พลเอกมานะ รัตนโกเศศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
พลเอก มานะ รัตนโกเศศ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2545[6] สิริอายุรวม 76 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2526 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[9]
- พ.ศ. 2512 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[10]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2516 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[12]
- พ.ศ. 2528 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2525 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2502 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
สหประชาชาติ:
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญสหประชาชาติเกาหลี
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เกาหลีใต้:
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ หนังสือที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พลเอก มานะ รัตนโกเศศ ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๗๖๒, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๐, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2545
- บุคคลจากอำเภอธาตุพนม
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
- พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.