บุญรื่น ศรีธเรศ
บุญรื่น ศรีธเรศ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 18 มกราคม พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ |
ถัดไป | ศักดา คงเพชร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (22 ปี 73 วัน) | |
ก่อนหน้า | สังข์ทอง ศรีธเรศ |
ถัดไป | วิรัช พิมพะนิตย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | บุญรื่น มัธยมนันทน์ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486 อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2534–2543) ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สังข์ทอง ศรีธเรศ |
บุญรื่น ศรีธเรศ (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 5 สมัย สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประวัติ
[แก้]บุญรื่น ซึ่งเป็นสกุลสืบสายมาจากหลวงประเวทย์อุธรณ์ขันธ์ (ลี มัธยมนันทน์) นายอำเภอกุฉินารายณ์คนแรก เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ที่ตำบลไผ่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้านครอบครัวสมรสกับ นายสังข์ทอง ศรีธเรศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีบุตร 3 คน คือ นายอัศวิน ศรีธเรศ (เสียชีวิต) นายทินพล ศรีธเรศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิภารัตน์ ศรีธเรศ
สำเร็จการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยครูมหาสารคาม และสำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองของผู้บริหารระดับสูง จากสถาบันพระปกเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2545 และระดับปริญญาโท สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การทำงาน
[แก้]บุญรื่น เคยรับราชการครู ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 (เขต 5) เป็นครั้งแรก ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และยังได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] ดูแลรับผิดชอบการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[2] และถูกปรับออกจาตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[3]
บุญรื่น เป็นผู้มีบทบาทในการดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ซึ่งมีการเสนอจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 [4] และวันที่ 8 กันยายน 2558 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558" มีผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สิ้นสุดสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษา และเป็นการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขึ้นในวันเดียวกัน [5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]บุญรื่น ศรีธเรศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2544 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
- ↑ ศธ.แบ่งงาน3รมต.ดูแลรายภูมิภาค 'บุญรื่น'เล็งลงพื้นที่แก้ปัญหาครูทำคุณภาพเด็กต่ำ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ "หารือตั้งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ท่ามกลางเสียงคัดค้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2012-10-02.
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 86 ก หน้า 45 8 กันยายน 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- บุคคลจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากสถาบันพระปกเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.