นาม พูนวัตถุ
นาม พูนวัตถุ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กรกฎาคม[1] พ.ศ. 2453[2] |
เสียชีวิต | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2550 (97 ปี)[2] |
นาม พูนวัตถุ (24 กรกฎาคม 2453 - 19 ตุลาคม 2550)[2] เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ[3]
ประวัติ[แก้]
นาม พูนวัตถุ เกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 เข้าเรียนที่โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก[4]
นาม พูนวัตถุ เป็นข้าราชการพลเรือนชาวไทย เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงเศรษฐการ ผลงานที่โดดเด่นในขณะนั้นคือ การยกร่างพระราชบัญญัตินักบัญชี โดยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับจัดตั้งสภาการบัญชีขึ้น เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและส่งเสริมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีทำนองเดียวกับเนติบัณฑิตยสภาและแพทยสภา ซึ่งต่อมากลายเป็นพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 เป็นจุดกำเนิดของสภาวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย[5] เขาเคยดำรงตำแหน่งรองอธิบดี และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2507[3]
นาม พูนวัตถุ เป็นนักธุรกิจในกิจการอุตสาหกรรมผลิตและค้าอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่ม โดยเคยเป็นหุ้นส่วนในบริษัท อาหารสยาม จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2513
นาม พูนวัตถุ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการร่างกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในปี พ.ศ. 2519 ทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. ...
ต่อมาหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 นาม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[6]
นาม พูนวัตถุ ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2551[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2520 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. ความสุขที่สมบูรณ์
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 หนังสือที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ นายนาม พูนวัตถุ [1] สืบค้นจากหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ออนไลน์
- ↑ 3.0 3.1 วารสารข้าราชการ ปีที่ 9 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2507
- ↑ ประวัติโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก
- ↑ กว่าจะเป็น "สภาวิชาชีพบัญชี"
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์