อภัย จันทวิมล
อภัย จันทวิมล | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | สุกิจ นิมมานเหมินท์ |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ถัดไป | เกรียง กีรติกร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 จันทบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 16 เมษายน พ.ศ. 2536 (86 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงทองก้อน จันทวิมล ธิดา 2 บุตร 1 |
อภัย จันทวิมล เกิดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 ที่ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี[1] เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมคณะลูกเสือแห่งชาติ ในคณะกรรมการลูกเสือโลก ขององค์การลูกเสือโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 ถึง 2514
ในพ.ศ. 2514 เขาได้รับรางวัลบรอนซ์วูลฟ์ ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับจากองค์การลูกเสือโลก และมอบโดยคณะกรรมการลูกเสือโลกในฐานะที่มีการสนับสนุนส่งเสริมกิจการลูกเสือโลก ในการประชุมลูกเสือโลกครั้งที่ 22
ประวัติ
[แก้]อภัย จันทวิมล เข้าศึกษาที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี และเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมา ได้เดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พ.ศ. 2459
นายอภัย สมรสกับ คุณหญิงทองก้อน จันทวิมล (สกุลเดิม บุณยัษฐิติ) พ.ศ. 2490 เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมสามัญศึกษา และ พ.ศ. 2494 เป็นอธิบดีกรมพลศึกษา[2] พ.ศ. 2504 ถึง 2511 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายหลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในพ.ศ. 2513[3] ถึง 2514 และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในพ.ศ. 2515 ถึง 2517[1] ต่อมา ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[4] นายอภัย ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี 2536 สิริอายุ 86 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[8]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2494 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน[1]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2500 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาดารา
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2510 – เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 หอประวัติ มจพ.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิบดีกรมพลศึกษา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก กฤษณ์ สีวะรา พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ นายมนูญ บริสุทธิ์ นายอภัย จันทวิมล นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์)
- ↑ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๕๕, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๗๐, ๕ มิถุนายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘๘, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- Dr. László Nagy, 250 Million Scouts, The World Scout Foundation and Dartnell Publishers, 1985, complete list through 1981, from which the French Scoutopedia article is sourced
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- French Scoutopedia article (ฝรั่งเศส)
- หอบรรณสารสนเทศ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2450
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536
- บุคคลจากอำเภอเมืองจันทบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- นักการเมืองจากจังหวัดจันทบุรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- ปลัดกระทรวงศึกษาธิการไทย
- อธิบดีกรมพลศึกษา
- บุคคลจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
- นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี