เดือน บุนนาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดือน บุนนาค
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ก่อนหน้าดิเรก ชัยนาม
ถัดไปพลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม – 23 สิงหาคม​ พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ก่อนหน้าพระตีรณสารวิศวกรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถัดไปนาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ก่อนหน้าพันตรี วิลาศ โอสถานนท์
ถัดไปหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
รักษาการแทนผู้ประศาสน์การ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 – 12 สิงหาคม พ.ศ. 2493
ก่อนหน้าปรีดี พนมยงค์
ถัดไปพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กันยายน พ.ศ. 2448
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต15 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 (76 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคสหชีพ
คู่สมรสคุณหญิง เยาวมาลย์
อมาตยกุล บุนนาค

ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร่วมก่อตั้ง เลขาธิการ และรักษาการผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าพรรคสหชีพ มีผลงานที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ. 2485-2490 คือ ช่วยแก้ประกาศสงครามให้กลายเป็นโมฆะ

ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค หรือที่รู้จักกันในนาม ศาสตราจารย์ ดร.เดือน บุนนาค เกิดในตระกูลขุนนาง เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง บริเวณบ้านถนนสินค้า พระนคร เป็นบุตรพระยาประเสนะชิตศรีพิไลย (ดัด บุนนาค) กับคุณหญิงทรัพย์ บุนนาค (สกุลเดิม จุลดุลย์) นับเป็นลำดับชั้นที่ 6 ของตระกูลบุนนาค[2]

ด้านครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงเยาวมาลย์ ธิดาพระยาอนุรักษ์โกษา (ประเวศ อมาตยกุล) และคุณหญิงแถม มีบุตรธิดา 4 คน คือ เดือนฉาย ธัลดล ดนุช และรัฐฎา

เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[3]

การศึกษา[แก้]

เริ่มต้นการศึกษาในปี พ.ศ. 2454 ที่โรงเรียนวัดราชบูรณะ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2455 และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ใน พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2465 ได้ไปศึกษาต่อทีโรงเรียนลีเซ (Lycée) ณ เมืองเกรอนอบล์ ประเทศฝรั่งเศส และสามารถสอบ Equivalence de Baccalauréat ได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2468

จากนั้น ได้เข้าศึกษา ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบล์ ได้ปริญญา Licencié en droit “Très bien” เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2471

ต่อมาย้ายมาเรียนต่อที่ ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส จนได้รับ Diplôme d'Études Supérieures de droit privé และ Diplôme ď'Études Supérieures de l'Économie Politique ใน พ.ศ. 2472 และได้รับปริญญาเอก (Docteur en droit) จากมหาวิทยาลัยปารีส ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2473

ประสบการณ์การทำงาน[แก้]

  • รับราชการและการเมือง

เริ่มต้นฝึกราชการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 ณ ศาลฎีกา กระทรวงยุติธรรม และได้เป็นผู้พิพากษาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้ร่วมจัดระเบียบราชการบริหารจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตย โดยได้โอนจากกระทรวงยุติธรรมไปดำรงตำแหน่งเลขานุการ กรมร่าง กฎหมายคณะรัฐมนตรี จนในที่สุดได้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2477[4]

เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ได้ลาออกจากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น รัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[5][6] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[7] รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลายท่าน ได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พันตรีควง อภัยวงศ์ นายทวี บุณยเกตุ นายปรีดี พนมยงค์[8] และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์[9]

  • วิชาการและบริหารมหาวิทยาลัย

เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เคยรักษาการในตำแหน่งผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย[10] และเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปิดตลาดวิชา ได้เป็นคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณบดีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนแรก นอกจากนี้ยังเป็นเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชาความรู้เบื้องต้นของกฎหมาย และกฎหมายฝรั่งเศส และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์วิสามัญ[11]อีกด้วย

  • งานด้านรัฐสภา

ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2478 จนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 และได้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2489 เคยเป็นกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาสังคายนารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 และทำการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็นพฤฒสภาในปี พ.ศ. 2489

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
  2. ชมรมสายสกุลบุนนาค. (มปป.). ศาสตราจารย์เดือน บุนนาค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2010-01-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
  3. สำนักราชเลขานุการ. (มปป.). ประมวลเอกสารทั้งหมด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
  4. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2552). ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค กับตำราเศรษฐศาสตร์ยุคแรก*. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๖ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  9. กระทรวงศึกษาธิการ. (มปป.). ทำเนียบรัฐมนตรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
  10. สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปภัมภ์. (2553). นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ สกุลบุนนาค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก Link เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).
  11. ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์วิสามัญ
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๔, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๕, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๔๘, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
ก่อนหน้า เดือน บุนนาค ถัดไป
วิลาศ โอสถานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(30 พฤษภาคม 2490 – 8 พฤศจิกายน 2490)
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์