เล็ก แนวมาลี
พลเอก นายกองใหญ่ เล็ก แนวมาลี | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ |
ถัดไป | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ถัดไป | ประเทือง กีรติบุตร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2457 |
เสียชีวิต | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (79 ปี) |
คู่สมรส | ถวิล แนวมาลี |
บุตร | พลอากาศเอก อมร แนวมาลี |
ศาสนา | พุทธ |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย กองอาสารักษาดินแดน |
ยศ | ![]() ![]() |
พลเอก เล็ก แนวมาลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย
ประวัติ[แก้]
พลเอก นายกองใหญ่ เล็ก แนวมาลี สมรสกับนางถวิล แนวมาลี มีบุตรคือพลอากาศเอก อมร แนวมาลี[2]
งานการเมือง[แก้]
พลเอก นายกองใหญ่ เล็ก แนวมาลี ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39[3][4] และพ้นจากตำแหน่งไปหลังการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 40 รัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[5] เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ได้มีการปรับย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[6][7] และดำรงตำแหน่งเรื่อยมาในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 41[8] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[9] เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 หลังจากที่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ลาออก[10]
พลเอก นายกองใหญ่ เล็ก แนวมาลี เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาพรรคชาติประชาธิปไตย[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2510 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2514 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[13]
- พ.ศ. 2513 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)[14]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/D/123/1.PDF
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๐)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
|
|
|
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2457
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2537
- ทหารบกชาวไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคชาติประชาธิปไตย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ