วิสูตร อรรถยุกติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิสูตร อรรถยุกติ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (0 ปี 318 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2446
เสียชีวิตพ.ศ. 2517
คู่สมรสคุณหญิงเผชิญ อรรถยุกติ

วิสูตร อรรถยุกติ หรือ อำมาตย์โท หลวงวิสูตรวิรัชชเทศ (พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2517)[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2 สมัย ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน และรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นอดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำหลายประเทศ และเป็นเอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำกรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

ประวัติ[แก้]

วิสูตร อรรถยุกติ เดิมชื่อ ถวิล อรรถยุกติ เป็นบุตรของพระยาเผด็จดุลยบดีศรีสรคม เขาสมรสกับคุณหญิงเผชิญ อรรถยุกติ (สกุลเดิม โชติกเสถียร) บุตรสาวคนโตของ นาวาเอก พระวิทยุทูระลิขิต (ทั่ง โชติกเสถียร)

วิสูตร อรรถยุกติ รับราชการในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูตไทยประจำหลายประเทศ และเป็นเอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำกรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน[2] และดำรงตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ[3]

งานการเมือง[แก้]

วิสูตร อรรถยุกติ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2500[4] ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร

วิสูตร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

วิสูตร อรรถยุกติ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ระเบียบพิธีปฏิบัติทางการทูต และกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2518
  2. http://thaiembassy.se/en/embassy/list-of-ambassadors/60/
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2490/D/021/796.PDF
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
  5. รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๔๐๑, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๑, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๓๗, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๕, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๙๔, ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๗๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง ให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๐๕, ๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๗
  15. 15.0 15.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๕๘๗, ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๖๕ ง หน้า ๑๖๓๑, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๒๗ ง หน้า ๑๐๘๓, ๒๙ เมษายน ๒๔๙๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๗๙๔, ๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๙