วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย เบญจา หลุยเจริญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มกราคม พ.ศ. 2492 |
คู่สมรส | ฤดีมน ศรีสุพรรณ |
ศาสนา | พุทธ |
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[1] ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 และเป็นอดีตรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการคลังและอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง
ประวัติ[แก้]
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรคนที่ 6 ของนายอุย กับนางไน้ ศรีสุพรรณ มีพี่น้อง 6 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลามาร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 38
วิสุทธิ์ สมรสกับนางฤดีมน ศรีสุพรรณ (สกุลเดิม เรืองศิริ) มีบุตรสาว 2 คน
การทำงาน[แก้]
ราชการ[แก้]
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง เคยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง[2] ในปี พ.ศ. 2539-2542 เป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง[3] ในปี พ.ศ. 2542-2545 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในปี พ.ศ. 2545-2546 เป็นอธิบดีกรมธนารักษ์[4] ในปี พ.ศ. 2546-2550 เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2550 และอธิบดีกรมศุลกากรในปีถัดมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้รับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปีเดียวกันนั้นเขาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถึง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552
แทนนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ซึ่งลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[5] โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช เป็นผู้เสนอชื่อ และยังมีความสนิทสนมกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอีกด้วย[6]
กระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมศุลกากร[7] โดยตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ได้มีการแต่งตั้งนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน
งานการเมือง[แก้]
ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมหมาย ภาษี) ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[8] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[9]
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2562 และได้ลาออกในปี 2565
งานธุรกิจ[แก้]
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็นกรรมการบริษัท พฤกษา เรียสเอสเตท จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปี พ.ศ. 2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2542 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2539 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (ร้อยเอก ชาญชัย ชาญชยศึก, นางมณีมัย วุฒิธรเนติรักษ์, นายสมหมาย ภาษี, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ, นายวิสุทธิ์ มนตริวัด,นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์, นายสุทธิพันธุ์ นิมมานเหมินทร์, นายประกอบ ตันติยาพงศ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา, นายวิสุทธิ์ มนตริวัต, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ, นายศานิต ร่างน้อย, นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์, นายวิชัย จึงรักเกียรติ)
- ↑ ประกาศลาออกจากราชการ
- ↑ พลิกปูม! อำนวย-วิสุทธิ์ 2 รมต.ป้ายแดง รบ.ประยุทธ์
- ↑ เด้งฟ้าผ่า "อุทิศ ธรรมวาทิน" พ้นเก้าอี้ อธิบดีกรมศุลกากร "วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ" เสียบแทน[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๑๒๔๓/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑. นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ๒. นายสรร วิเทศพงษ์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ นายอำนวย ปะติเส)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓๒๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- อธิบดีกรมธนารักษ์
- อธิบดีกรมสรรพสามิต
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- อธิบดีกรมศุลกากร
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง