สุชาดา กีระนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุชาดา กีระนันทน์
Khunying Suchada Kiranandana
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2547 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2551
(3 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้ารศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร
ถัดไปศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (78 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเทียนฉาย กีระนันทน์
บุตร2 คน

ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 — ) ประธานคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลของ สภากาชาดไทย ประธานกรรมการอิสระ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์​ จำกัด (มหาชน)​อดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนายกสภาฯ หญิงคนแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย, และอดีตอธิการบดีและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหญิงคนแรก ประธานคณะกรรมการบริหารทุนจุฬาสงเคราะห์

ประวัติ[แก้]

สุชาดา กีระนันทน์ สำเร็จการศึกษา พาณิชยศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญทอง) จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2510 และศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในคณะสถิติศาสตร์ สำเร็จในปี 2519

การทำงาน[แก้]

ในปี 2531-2532 ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2534 ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในวาระแรก และในปี 2538 ได้ดำรงอีกวาระหนึ่ง ปี 2542 - 2547 ดำรงตำแหน่งตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี 2547-2551 ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณหญิงสุชาดาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ช่วงปี 2549-2550 ประธานกรรมการดำเนินงานร้านภูฟ้า กรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [1] และกรรมการสภากาชาดไทย ทั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน)

เคยเป็น Visiting Assistant Professor ภาควิชาสถิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา และยังเคยดำรงกรรมการการสอบโทเฟลระหว่างปี 2540-2543

สุชาดา กีระนันทน์ ยังเป็นกรรมการอิสระในธนาคารกสิกรไทยอีกด้วย[2]

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

  • สถิติกับชีวิตประจำวัน 2547
  • เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ 2542
  • ทฤษฎีและวิธีการสำรวจตัวอย่าง 2538
  • การอนุมานเชิงสถิติ : ทฤษฎีขั้นต้น 2530

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

สุชาดาสมรสกับเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรชาย 2 คน คือ เทียนชาต กีระนันทน์ และ เทียนไท กีระนันทน์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-23. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
  2. รายชื่อคณะกรรมการธนาคารจากเว็บไซต์ของธนาคารกสิกรไทย
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๕๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙


ก่อนหน้า สุชาดา กีระนันทน์ ถัดไป
รองศาสตราจารย์ ดร.
ธัชชัย สุมิตร

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(1 เมษายน พ.ศ. 2547 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2551)
ศาสตราจารย์ นายแพทย์
ภิรมย์ กมลรัตนกุล