สาธารณรัฐไวมาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไรซ์เยอรมัน

Deutsches Reich
ค.ศ. 1918–ค.ศ. 1933[1][2][3]
ธงชาติสาธารณรัฐไวมาร์
ธงชาติ
(ค.ศ. 1919–1933)
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1919–1928)ของสาธารณรัฐไวมาร์
ตราแผ่นดิน
(ค.ศ. 1919–1928)
คำขวัญEinigkeit und Recht und Freiheit
("สามัคคี ยุติธรรม เสรีภาพ")
สาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1930
สาธารณรัฐไวมาร์ในปี ค.ศ. 1930
รัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ในคริสต์ทษวรรษที่ 1920 (สีน้ำเงินคือปรัสเซียและมณฑลของปรัสเซีย)
รัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ในคริสต์ทษวรรษที่ 1920 (สีน้ำเงินคือปรัสเซียและมณฑลของปรัสเซีย)
เมืองหลวงเบอร์ลิน
ภาษาทั่วไปทางการ:
เยอรมัน
ศาสนา
จากการสำมะโนใน ค.ศ. 1925:[4]
การปกครอง
ประธานาธิบดี 
• ค.ศ. 1919–1925
ฟรีดริช เอเบิร์ท
• ค.ศ. 1925–1933
เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1919 (คนแรก)
ฟิลลิพ ไชเดอมัน
• ค.ศ. 1933 (คนสุดท้าย)
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
สภานิติบัญญัติไรช์ทาค
ไรซ์ราท
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม
• ก่อตั้ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
11 สิงหาคม ค.ศ. 1919
29 มีนาคม ค.ศ. 1930[5]
• ฮิตเลอร์ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
30 มกราคม ค.ศ. 1933
27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933
23 มีนาคม ค.ศ. 1933[1][2][3]
พื้นที่
ค.ศ. 1925[6]468,787 ตารางกิโลเมตร (181,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1925[6]
62,411,000 คน
133.129 ต่อตารางกิโลเมตร (344.8 ต่อตารางไมล์)
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิเยอรมัน
นาซีเยอรมนี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

สาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมัน: Weimarer Republik [ˈvaɪmaʁɐ ʁepuˈbliːk] ( ฟังเสียง)) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สาธารณรัฐเยอรมนี (Deutsche Republik) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกประเทศเยอรมนีในยุคสาธารณรัฐระหว่างปีค.ศ. 1918 ถึง 1933 ชื่อของสาธารณรัฐนั้นตั้งตามชื่อเมืองไวมาร์ ที่ซึ่งรัฐสภาได้ประชุมกันเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังจากจักรวรรดิเยอรมันล่มสลายลงหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐไวมาร์คือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ยกเลิกอภิสิทธิของขุนนางเยอรมนีทิ้ง ลูกหลานของขุนนางเยอรมนีไม่สามารถสืบตำแหน่งได้อีกต่อไป สืบได้เพียงทรัพย์สินและนามสกุลเท่านั้น

เยอรมนีได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เมื่อไคเซอร์(จักรพรรดิ) วิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีได้สละบังลังก์แห่งเยอรมนีและปรัสเซียโดยไม่ได้มีการตกลงที่จะสืบราชบังลังก์โดยพระราชโอรสของพระองค์คือ เจ้าชายวิลเฮล์ม มกุฎราชกุมาร และได้กลายเป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เมื่อตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีได้ถูกก่อตั้งขึ้น สภาแห่งชาติได้มีการประชุมกันในเมืองไวมาร์ ที่รัฐธรรมนูญใหม่สำหรับเยอรมนีได้เขียนและประกาศใช้ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1919 ในช่วงเวลาสิบสี่ปี สาธารณรัฐไวมาร์ต้องประสบปัญหามากมาย,รวมทั้งภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง การเมืองที่มีแต่ความรุนแรง(ด้วยกองกำลังกึ่งทหาร-ทั้งฝ่ายซ้ายและขวา) เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่โต้แย้งกับผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความไม่พอในเยอรมนีที่มีต่อสนธิสัญญาแวร์ซายที่รุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ทางการเมืองที่พวกเขาโกรธแค้นต่อผู้ที่ลงนามในสนธิสัญญาและส่งเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไข สาธารณรัฐไวมาร์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขส่วนใหญ่ของสนธิสัญญาแวร์ซาย แม้ว่าจะไม่เคยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการลดอาวุธทั้งหมดและท้ายที่สุดก็ได้จ่ายเพียงเล็กน้อยของการชดเชยค่าปฏิกรรมสงคราม(โดยการปรับโครงสร้างหนี้สองครั้งผ่านด้วยแผนการดอวส์และแผนการยัง)[7] ภายใต้สนธิสัญญาโลคาร์โน เยอรมนีจะต้องยอมรับเขตชายแดนตะวันตกของประเทศโดยยกเลิกการอ้างสิทธิ์บนดินแดนฝรั่งเศสและเบลเยียม แต่ยังคงมีการโต้เถียงกันในเรื่องเขตชายแดนตะวันออกและได้พยายามที่จะโน้มน้าวให้ออสเตรียที่มีคนพูดภาษาเยอรมันเพื่อเข้าร่วมกับเยอรมนีในฐานะหนึ่งในรัฐเยอรมนี

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา ประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ได้ใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อหนุนหลังนายกรัฐมนตรี ไฮน์ริช บรือนิง, ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน และควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่, ความรุนแรงจากนโยบายของบรือนิงจากภาวะเงินฝืด ได้นำไปสู่การว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น[8] ในปี ค.ศ. 1933 ฮินเดินบวร์คได้แต่งตั้งให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีกับพรรคนาซีได้เป็นส่วนหนึ่งในรัฐบาลผสม นาซีได้แค่สองในสิบที่นั่งในคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ ฟ็อน พาเพิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีตั้งใจที่จะเป็น Éminence grise(ผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง) ที่คอยเฝ้าจับตาดูฮิตเลอร์ให้อยู่ภายใต้การควบคุม โดยใช้การเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฮินเดินบวร์ค ภายในเวลาไม่กี่เดือน กฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคและรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ปี ค.ศ. 1933 ได้นำไปสู่ภาวะฉุกเฉินของรัฐ: ได้ลบล้างการจัดการปกครองตามรัฐธรรมนูญและเสรีภาพของประชาชน การเถลิงอำนาจของฮิตเลอร์(มัคท์แอร์ไกรฟุง) ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลโดยกฤษฎีกาซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในนิติบัญญัติ ด้วยเหตุการณ์นี้ทำให้ยุคสาธารณรัฐสิ้นสุดลง-ระบอบประชาธิปไตยล่มสลาย การก่อตั้งรัฐที่มีพรรคเดียวได้เป็นจุดเริ่มต้นของยุคนาซี

ประวัติของสาธารณรัฐ[แก้]

ภูมิหลัง[แก้]

จักรวรรดิเยอรมันและฝ่ายฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามจบลงด้วยชีวิตของทหารและพลเรือนประมาณ 20 ล้านคน[9] โดยเป็นทหารเยอรมนีประมาณ 2,037,000 นาย และพลเรือนประมาณ 424,000[10]-763,000 คน[11][12] ส่วนมากเสียชีวิตจากโรคและความอดอยากซึ่งเป็นผลมาจากการปิดล้อมทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตร

หลังจากสี่ปีของสงครามในหลายแนวรบในยุโรปและทั่วโลก การรุกคืบครั้งสุดท้ายในปฏิบัติการการรุกร้อยวันของฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1918 และทำให้ของเยอรมนีและฝ่ายมหาอำนาจกลางระส่ำระส่ายลง[13][14]และนำไปสู่การเรียกร้องสันติภาพ หลังจากข้อเสนอแรกถูกปฏิเสธโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ความอดอยากในช่วงสงครามหลายปีบวกกับการรับรู้ถึงความพ่ายแพ้ทางการทหาร[15]ได้ช่วยจุดชนวนการปฏิวัติเยอรมัน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ได้มีการประกาศตั้งสาธารณรัฐ[16] และจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ประกาศการสละราชสมบัติ[17] เป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิเยอรมันและการเริ่มต้นของสาธารณรัฐไวมาร์ ตามมาด้วยการสงบศึกการสู้รบลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

เยอรมนีพ่ายแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรสงครามเนื่องจากต้องเผชิญความพ่ายแพ้ทางการทหารและทรัพยากรทางเศรษฐกิจกำลังหมดลงในขณะที่ปลายฤดูร้อนปี 1918 กองทหารสหรัฐที่เพิ่งมาถึงฝรั่งเศสในจำนวน 10,000 นายต่อวัน ในขณะที่การสนับสนุนของประชาชนเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 1916 และในกลางปี ​​1918 ชาวเยอรมันจำนวนมากต้องการให้สงครามยุติลง จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เริ่มมีการเชื่อมโยงกับการเมืองฝ่ายซ้าย เช่น พรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระที่มีแนวคิดหัวรุนแรงนซึ่งเรียกร้องให้ยุติสงคราม เมื่อเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดานายพลว่าความพ่ายแพ้ใกล้เข้ามาแล้ว นายพลเอริช ลูเดินดอร์ฟได้โน้มน้าวให้จักรพรรดิเห็นว่าเยอรมนีจำเป็นต้องสงบศึก แม้ว่ากำลังล่าถอย กองทัพเยอรมนียังคงอยู่ในดินแดนของฝรั่งเศสและเบลเยียมเมื่อสงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน เอริช ลูเดินดอร์ฟและเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์คจึงเริ่มประกาศว่าการยอมรับความพ่ายแพ้ของพลเรือน โดยเฉพาะพวกสังคมนิยมนั้นทำให้ความพ่ายแพ้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตำนานแทงข้างหลังถูกเผยแพร่โดยฝ่ายขวาตลอดช่วงทศวรรษที่ 1920 ทำให้มั่นใจว่ากลุ่มนิยมกษัตริย์และกลุ่มอนุรักษนิยมจำนวนมากจะปฏิเสธที่จะสนับสนุนรัฐบาลที่พวกเขาเรียกว่า "อาชญากรพฤศจิกายน"[18] ผลกระทบที่ไม่มั่นคงจากตำนานแทงข้างหลังมีต่อระบอบประชาธิปไตยไวมาร์เป็นปัจจัยสำคัญในการผงาดขึ้นของพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยม

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hosch, William L. (23 March 2007). "The Reichstag Fire and the Enabling Act of March 23, 1933". Britannica Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
  2. "The law that 'enabled' Hitler's dictatorship". DW.com (ภาษาอังกฤษ). 23 March 2013. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
  3. Mason, K. J. Republic to Reich: A History of Germany 1918–1945. McGraw-Hill.
  4. Volume 6. Weimar Germany, 1918/19–1933 Population by Religious Denomination (1910–1939) Sozialgeschichtliches Arbeitsbuch, Volume III, Materialien zur Statistik des Deutschen Reiches 1914–1945, edited by Dietmar Petzina, Werner Abelshauser, and Anselm Faust. Munich: Verlag C. H. Beck, 1978, p. 31. Translation: Fred Reuss.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ThomasAdam
  6. 6.0 6.1 "Das Deutsche Reich im Überblick". Wahlen in der Weimarer Republik. สืบค้นเมื่อ 26 April 2007.
  7. Marks, Sally (1976). The Illusion of Peace: International Relations in Europe, 1918–1933, St. Martin's, New York, pp. 96–105.
  8. Büttner, Ursula Weimar: die überforderte Republik, Klett-Cotta, 2008, ISBN 978-3-608-94308-5, p. 424
  9. World War I – Killed, wounded, and missing". Encyclopedia Britannica. Archived from the original on 5 October 2020. Retrieved 7 January 2021.
  10. Grebler, Leo (1940). The Cost of the World War to Germany and Austria-Hungary. New Haven: Yale University Press. p. 78.
  11. Vincent, C. Paul (1985). The Politics of Hunger: The Allied Blockade of Germany, 1915–1919. Athens (Ohio) and London: Ohio University Press.
  12. "The National Archives – Exhibitions & Learning online – First World War – Spotlights on history". Government of the United Kingdom. Retrieved 14 April 2018.
  13. Herwig, Holger H. (1997). The First World War: Germany and Austria-Hungary, 1914–1918. Modern Wars. London: St. Martin's Press. pp. 426–428. ISBN 978-0-340-67753-7. OCLC 34996156.
  14. Tucker, Spencer C. (2005). World War I: A — D. Santa Barbara: ABC-CLIO. p. 1256. ISBN 978-1-85109-420-2. OCLC 162257288.
  15. "Die Revolution von 1918/19". Deutsches Historisches Museum (in German). 15 August 2015. Retrieved 23 March 2023.
  16. Haffner, Sebastian (2002) [1st pub. 1979]. Die deutsche Revolution 1918/19 [The German Revolution 1918/19] (in German). Berlin: Kindler. ISBN 978-3-463-40423-3. OCLC 248703455.
  17. Stevenson, David (2004). Cataclysm: The First World War as Political Tragedy. New York: Basic Books. p. 404. ISBN 978-0-465-08184-4. OCLC 54001282.
  18. Diest, Wilhelm; Feuchtwanger, E. J. (1996). "The Military Collapse of the German Empire: the Reality Behind the Stab-in-the-Back Myth". War in History. 3 (2): 186–207. doi:10.1177/096834459600300203. S2CID 159610049.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Allen, William Sheridan (1984). The Nazi seizure of Power: the experience of a single German town, 1922–1945. New York, Toronto: F. Watts. ISBN 0-531-09935-0.
  • Berghahn, V. R. (1982). Modern Germany. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-34748-3.
  • Bookbinder, Paul (1996). Weimar Germany: the Republic of the Reasonable. Manchester, UK: Manchester University Press. ISBN 0-7190-4286-0.
  • Bracher, Karl Dietrich (1971). Die Auflösung der Weimarer Republik; eine Studie zum Problem des Machtverfalls in der Demokratie (ภาษาเยอรมัน). Villingen, Schwarzwald: Ring-Verlag.
  • Broszat, Martin (1987). Hitler and the Collapse of Weimar Germany. Leamington Spa, New York: Berg. ISBN 0-85496-509-2.
  • Childers, Thomas (1983). The Nazi Voter: The Social Foundations of Fascism in Germany, 1919–1933. Chapel Hill: University of North Carolina Press. ISBN 0-8078-1570-5.
  • Craig, Gordon A. (1980). Germany 1866–1945 (Oxford History of Modern Europe). Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-502724-8.
  • Dorpalen, Andreas (1964). Hindenburg and the Weimar Republic. Princeton, N.J.: Princeton University Press.
  • Eschenburg, Theodor (1972) "The Role of the Personality in the Crisis of the Weimar Republic: Hindenburg, Brüning, Groener, Schleicher" pages 3–50 from Republic to Reich The Making Of The Nazi Revolution edited by Hajo Holborn, New York: Pantheon Books.
  • Feuchtwanger, Edgar (1993). From Weimar to Hitler: Germany, 1918–1933. London: Macmillan. ISBN 0-333-27466-0.
  • Gay, Peter (1968). Weimar Culture: The Outsider as Insider. New York: Harper & Row.
  • Gordon, Mel (2000). Volutpuous Panic: The Erotic World of Weimar Berlin. New York: Feral House.
  • Hamilton, Richard F. (1982). Who Voted for Hitler?. Princeton, N.J.: Princeton University Press. ISBN 0-691-09395-4.
  • Chris Harman The Lost Revolution: Germany 1918–1923. Bookmarks. 1982. ISDN 090622408X.
  • James, Harold (1986). The German Slump: Politics and Economics, 1924–1936. Oxford, Oxfordshire: Clarendon Press. ISBN 0-19-821972-5.
  • Kaes, Anton; Jay, Martin (1994). Dimendberg, Edward (บ.ก.). The Weimar Republic Sourcebook. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-06774-6.
  • Kershaw, Ian (1990). Weimar. Why did German Democracy Fail?. London: Weidenfield & Nicholson. ISBN 0-312-04470-4.
  • Kershaw, Ian (1998). Hitler 1889–1936: Hubris. London: Allen Lane. ISBN 0-393-04671-0.
  • Kolb, Eberhard (1988). The Weimar Republic. P.S. Falla (translator). London: Unwin Hyman. ISBN 0-04-943049-1.
  • Mommsen, Hans (1991). From Weimar to Auschwitz. Philip O'Connor (translator). Princeton, N.J.: Princeton University Press. ISBN 0-691-03198-3.
  • Mowrer, Edgar Angel (1933). Germany Puts The Clock Back. London.
  • Nicholls, Anthony James (2000). Weimar And The Rise Of Hitler. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-23350-7.
  • Peukert, Detlev (1992). The Weimar Republic: the Crisis of Classical Modernity. New York: Hill and Wang. ISBN 0-8090-9674-9.
  • Turner, Henry Ashby (1996). Hitler's Thirty Days To Power: January 1933. Reading, Mass.: Addison-Wesley. ISBN 0-201-40714-0.
  • Turner, Henry Ashby (1985). German Big Business and the Rise of Hitler. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-503492-9.
  • Weitz, Eric D. (2007). Weimar Germany: Promise and Tragedy. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-01695-5.
  • Wheeler-Bennett, John (2005). The Nemesis of Power: German Army in Politics, 1918–1945. New York: Palgrave Macmillan Publishing Company. ISBN 1-4039-1812-0.
  • Widdig, Bernd (2001). Culture and Inflation in Weimar Germany. Berkeley, CA: University of California Press. ISBN 978-0-520-22290-8.

ภูมิประวัติศาสตร์[แก้]

  • Fritzsche, Peter. "Did Weimar Fail?," Journal of Modem History 68 (1996): 629–656. in JSTOR
  • Graf, Rüdiger. "Either-Or: The Narrative of 'Crisis' in Weimar Germany and in Historiography," Central European History (2010) 43#4 pp. 592–615

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]