วรากรณ์ สามโกเศศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วรากรณ์ สามโกเศศ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าดร.รุ่ง แก้วแดง
ถัดไปบุญลือ ประเสริฐโสภา
พงศกร อรรณนพพร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 (76 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสมนทิรา สามโกเศศ

รองศาสตราจารย์ วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กรรมการในคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมใน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[1] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์[2] อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3] ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ[4]อดีตประธานกรรมการ ในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์[5]อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)[6]กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารธุรกิจ ในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน[7]กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการความลับทางการค้า ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการสรรหาเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2559[8]ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560[9]

และได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาเศรษฐศาสตร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[10] นอกจากนั้นยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

ประวัติ[แก้]

วรากรณ์ สามโกเศศ เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนราชินี มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนมัธยมสาธิตปทุมวัน (ปัจจุบันคือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน) เมื่อปี พ.ศ. 2505 มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2507 และจาก Leederville Technical School, Perth ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2508 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปีเดียวกัน ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ทางด้านเศรษฐศาสตร์จาก The University of Western Australia ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2513 ปริญญาโทและปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2524 และยังได้รับปริญญาบัตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 37 เมื่อปี พ.ศ. 2537 ด้วย

ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางมนทิรา สามโกเศศ (สกุลเดิม พิชัยชาญณรงค์) มีบุตร 2 คน คือ นายวรท สามโกเศศ และนางสาววริมน สามโกเศศ

การทำงาน[แก้]

รศ.วรากรณ์ สามโกเศศ หรือ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ และรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน งานทางด้านเอกชน เคยเป็นผู้อำนวยการอาวุโสบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง ปี พ.ศ. 2540 ทางด้านการเมือง เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึงปี พ.ศ. 2544 รวมทั้งยังเคยเป็นที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการรองนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ถึงปี พ.ศ. 2529 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2550 ภายหลังจากพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2551 ได้ทำงานอิสระ และกลับเข้ามารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 และดำรงตำแหน่งอธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นมา

งานเขียน[แก้]

ไฟล์:โลกนี้.jpg
หน้าปกหนังสือ โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี โดยสำนักพิมพ์ มติชน

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จากการเป็นนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่วิพากษ์วิจารณ์และให้ความเห็นในประเด็นเศรษฐกิจที่กระทบต่อสังคมตามสื่อและโอกาสต่าง ๆ โดยมีผลงานเขียนประจำที่ น.ส.พ.มติชน โดยใช้นามปากกาว่า " วีรกร ตรีเศศ " และนิตยสาร เช่น เปรียว แพรว โลกสีเขียว เป็นต้น รวมทั้งยังมีผลงานเป็นหนังสือออกมากมาย เช่น “ DIFFERENT ” " BEST " " FIRST " ในปี พ.ศ. 2547 " โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี " 5 ภาค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2547 " NICE " ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้น

งานการเมือง[แก้]

รศ.ดร.วรากร สามโกเศศ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 [11] จนกระทั่งมีการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 จึงได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ
  3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  5. ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  6. ประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
  7. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการบริหารธุรกิจ ในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
  8. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการความลับทางการค้า[ลิงก์เสีย]
  9. "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  10. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (นางอรนุช โอสถานนท์ นายวรากรณ์ สามโกเศศ)
  12. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๕๔, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]