สุทิน คลังแสง
สุทิน คลังแสง | |
---|---|
สุทิน ในปี พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567 (1 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
ก่อนหน้า | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ถัดไป | ภูมิธรรม เวชยชัย |
ประธานคณะกรรมการประสานงานฝ่ายค้านในระบบรัฐสภาในสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[1] – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 37 วัน) | |
ผู้นำฝ่ายค้าน | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ชลน่าน ศรีแก้ว |
ก่อนหน้า | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ |
ถัดไป | ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 220 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
ก่อนหน้า | กุสุมาลวตี ศิริโกมุท |
ถัดไป | รัฐ คลังแสง |
เขตเลือกตั้ง | เขต 5 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มีนาคม พ.ศ. 2504 อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2549) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ฉวีวรรณ คลังแสง |
บุตร | รัฐ คลังแสง ฐาธิปัตย์ คลังแสง |
ที่อยู่อาศัย | มหาสารคาม ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมคธ |
อาชีพ | อาจารย์ นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
สุทิน คลังแสง ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น ทิน หรือ บิ๊กทิน เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็นพลเรือนคนแรกของไทยที่ดำรงตำแหน่งนี้โดยไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปด้วย[2] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดมหาสารคาม อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (ประธานวิปฝ่ายค้าน) อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติ
[แก้]สุทิน คลังแสง เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สมรสกับฉวีวรรณ คลังแสง อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ มีบุตร 2 คน คือ รัฐ คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม และนางสาวฐาธิปัตย์ คลังแสง[3]
สุทินสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Doctor of Philosophy Magadh University ประเทศอินเดีย นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากสถาบันพระปกเกล้า
การทำงาน
[แก้]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สุทินเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2544 และ 2548 ต่อมาจึงได้มาสมัครในระบบเขตเลือกตั้งที่จังหวัดมหาสารคาม ในนามพรรคพลังประชาชน ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23[4]
ในปี พ.ศ. 2551 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[5]
สุทินเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำหน้าที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรของเมืองไทยในฐานะผู้นำฝ่ายค้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจการตรวจสอบและการทำงานของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในหลายครั้ง เช่น การอภิปรายคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี การกล่าวอภิปรายในญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 การอภิปรายระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา การอภิปรายพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 13 ฉบับ[ต้องการอ้างอิง]
ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[6]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 9[7] และได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้ 29 ที่นั่ง คือผู้สมัครของพรรคในลำดับที่ 1-29
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
[แก้]ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งถือเป็นพลเรือนที่ดำรงตำแหน่งนี้โดยมิได้ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรกของประเทศไทย[8] สองวันต่อมาเขาพร้อมด้วย เศรษฐา ทวีสิน และปานปรีย์ พหิทธานุกร ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ว่าที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ว่าที่ผู้บัญชาการทหารบก และพลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ว่าที่ผู้บัญชาการทหารเรือ ณ โรงแรมโรสวู้ด กรุงเทพ ถนนเพลินจิต[9] หลังการพูดคุยเขากล่าวว่าจะปรับการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 อีกทั้งจะมีการปรับจำนวนนายพลให้ลดลงอีกด้วย[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร". คณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ – ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔). กลุ่มงานผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: 13. สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2024 – โดยทาง คลังสารสนเทศของสภานิติบัญญัติ.
- ↑ สุทิน คลังแสงพลเรือนคนแรกที่ไม่ใช่นายกฯ ตรวจแถวเกียรติยศ3เหล่าทัพ
- ↑ "ทำความรู้จัก "สุทิน คลังแสง" สส.มือเก๋า นั่ง รมว.กลาโหม "ครม.เศรษฐา 1"". pptvhd36.com. 2023-08-29.
- ↑ กมธ.องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส.ผ. เลือก นายสุทิน คลังแสง เป็นประธาน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ประกาศ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566
- ↑ "'สุรชาติ บำรุงสุข' เปิดโจทย์รับ ว่าที่ รมว.กลาโหม ที่ชื่อ 'สุทิน คลังแสง' พลเรือนที่ไม่ใช่นายกฯคนแรก". prachatai.com.
- ↑ "ชื่นมื่น "เศรษฐา" ควง "ปานปรีย์-สุทิน" พบบิ๊กเหล่าทัพ คุยนโยบายทำงานร่วมกัน". bangkokbiznews. 2023-09-03.
- ↑ ""เศรษฐา" ควงคู่ "สุทิน" ถกชื่นมื่น 3 ว่าที่ผบ.เหล่าทัพ ลดนายพล-เกณฑ์ทหาร". www.thairath.co.th. 2023-09-04.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]
ก่อนหน้า | สุทิน คลังแสง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประยุทธ์ จันทร์โอชา | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 - 4 กันยนยน พ.ศ.2567) |
ภูมิธรรม เวชยชัย |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2504
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดมหาสารคาม
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยมคธ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.