สมพร อัศวเหม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมพร อัศวเหม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มิถุนายน พ.ศ. 2484
อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
เสียชีวิต13 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (66 ปี)
เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคราษฎร
คู่สมรสวิไล อัศวเหม

สมพร อัศวเหม (6 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ 5 สมัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติ[แก้]

สมพร เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายสุขะชัย กับนางสำอางค์ อัศวเหม มีพี่ชายคือ วัฒนา อัศวเหม และ สมศักดิ์ อัศวเหม (เป็นพี่ชายของอัครวัฒน์ อัศวเหม) เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏธนบุรี[1] เขาเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550[2]

นายสมพร สมรสกับนางวิไล อัศวเหม มีบุตร 3 คน คือ วรพร อัศวเหม วรพล อัศวเหม และชยุตม์วัฒน์ อัศวเหม

การทำงาน[แก้]

สมพร อัศวเหม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคราษฎร และได้รับเลือกตั้งอีก 3 สมัยในสังกัดพรรคชาติไทย และในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชากรไทย และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ต่อมาเป็นรองหัวหน้าพรรคราษฎร[4] ในปี 2542

ในปีเดียวกันนั้นเขาเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มงูเห่า ที่หันไปสนับสนุนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคราษฎร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

นายสมพร ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. นายก อบจ.เมืองปากน้ำ เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือด
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคราษฎร พ.ศ. 2541 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542) และคณะกรรมการบริหารพรรคราษฎร
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐