ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.ภ., ต.จ.ว., ภ.ป.ร.5 | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม – 27 ตุลาคม 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม 2554 – 18 มกราคม 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
ถัดไป | พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ 2544 – 11 มีนาคม 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วัฒนชัย วุฒิศิริ |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน 2556 – 7 พฤษภาคม 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ถัดไป | อุดมเดช สีตบุตร |
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม 2557 – 6 กันยายน 2558 | |
สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม 2558 – 3 สิงหาคม 2560 | |
ประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2558 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2480 (84 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2504 - 2540 |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม |
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)[3] อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลทักษิณ อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[4] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม โดยสื่อมวลชนมักเรียกว่า "บิ๊กอ็อด"
ประวัติ[แก้]
ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2480 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพลโทอรรถ และนางจำรูญ ศศิประภา เป็นพี่ชายของพลเอก อัครเดช ศศิประภา อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและประธานกรรมการบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) (ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว) ด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับคุณหญิงอรพรรณ ศศิประภา ธิดาของจอมพลประภาส จารุเสถียร กับท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร มีบุตรธิดา 4 คน คือ พ.ต.ดร.ปรภฎ ศศิประภา นางสาวอภิษฎา ศศิประภา นางสาววลัยพรรณ ศศิประภา และนางสาวจันทิมา ศศิประภา
ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 8 (จปร.8-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.กิตติ รัตนฉายา) ในปี พ.ศ. 2504 เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 48 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 33 นอกจากนั้นยังผ่านการอบรมหลักสูตรพลร่ม และพลจู่โจม จากศูนย์การทหารราบ กองทัพบก สหรัฐอเมริกาอีกด้วย
การทำงาน[แก้]
ราชการทหาร[แก้]
พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา รับราชการในสังกัดกองทัพบก จนกระทั่งได้รับยศชั้น "พลตรี" ในปี พ.ศ. 2528 ในตำแหน่งเสนาธิการกรมการรักษาดินแดน ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ได้เลื่อนชั้นยศเป็น "พลโท" ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายการข่าว และได้รับพระราชทานยศ "พลเอก" ในปี พ.ศ. 2536[5] เป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม[6] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานยศ "พลเรือเอก พลอากาศเอก"[7]จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2541
การเมือง[แก้]
พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา เข้าสู่งานการเมืองโดยการร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 23[8] และได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และได้ลาออกจากการเป็น ส.ส. เพื่อเปิดทางให้ผู้สมัครในลำดับถัดได้เลื่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[9] และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 พลเอกยุทธศักดิ์เป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 4[10] แต่ในเดือนตุลาคมของปี พ.ศ. 2555 ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี และได้กลับเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556[11] ซึ่งมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ก่อนการชุมนุมของกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) และแนวร่วมไม่นาน ได้ปรากฏคลิปเสียงที่เชื่อว่าเป็นเสียงสนทนากันระหว่างพลเอกยุทธศักดิ์ กับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ต่างประเทศ โดยเนื้อหาที่ปรากฏเป็นเรื่องการสนทนากันเกี่ยวกับนายทหารระดับผู้บัญชาการกองทัพ โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการทหารบก และตอนหนึ่งได้มีการกล่าวถึงถั่งเช่า ซึ่งเป็นสมุนไพรนจีนสำหรับบำรุงสมรรถนะทางเพศ จึงทำให้พลเอกยุทธศักดิ์ได้รับฉายาว่า "นายพลถั่งเช่า"[12]
ต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[13]
การกีฬา[แก้]
พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึงปี พ.ศ. 2545[14] และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย[15] และเขาได้ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2536 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[17]
- พ.ศ. 2540 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[18]
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[19]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 1 (ส.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2507 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[20]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/179/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/001/24.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/179/1.PDF
- ↑ http://opsd.mod.go.th/Recommend/commander.aspx
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/001/24.PDF
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
- ↑ เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ ฟังชัดๆ อีกครั้ง คลิปลับแฉสัมพันธ์ "ทักษิณ-แก๊งนายพลถั่งเช่า" เปลือยการเมืองไทย
- ↑ เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
- ↑ http://tasa.in.th/pro/history.php
- ↑ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา รวมทั้งสิ้น ๓,๑๙๒ ราย เล่ม ๑๑๐ ตอน ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี 2554
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๐)เล่ม ๑๑๔ ตอน ๑๑ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ หน้า๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ จำนวน ๒,๖๘๓ ราย เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ หน้า ๒
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (90ง): 2467. 22 กันยายน 2507. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
ก่อนหน้า | ยุทธศักดิ์ ศศิประภา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ | ![]() |
![]() รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง (18 มกราคม พ.ศ. 2555 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555) |
![]() |
เฉลิม อยู่บำรุง |
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.60) (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 18 มกราคม พ.ศ. 2555) |
![]() |
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต |
- สมาชิกเหรียญชัยสมรภูมิ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นายพลชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ปลัดกระทรวงกลาโหมไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติไทย
- พรรคเพื่อไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ภ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.5
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย