รัฐประหาร

รัฐประหาร (อังกฤษ: coup d'état /ˌkuː deɪˈtɑː/ listen (วิธีใช้·ข้อมูล) ; คูเดตา ภาษาฝรั่งเศส: [ku deta], ตรงตัว: "การระเบิดรัฐ"; เรียกสั้น ๆ ว่า coup, รูปพหูพจน์: coups d'état, บางครั้งเรียกง่าย ๆ ว่า การล้มล้าง (overthrow), การเข้ายึดครอง (takeover) และ การล้มล้างรัฐบาล (putsch)) เป็นการยกเลิกและยึดรัฐบาลและอำนาจของรัฐบาล โดยทั่วไปแล้ว การก่อการัฐประหารเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และขัดต่อรัฐธรรมนูญ มักก่อการโดยฝ่ายทางการเมือง, กองทัพ หรือโดยผู้นำเผด็จการ[1] ในขณะที่ ความพยายามรัฐประหาร (อังกฤษ: coup attempt) หมายถึงรัฐประหารที่กำลังดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการอยู่ หรือหมายถึงรัฐประหารที่ล้มเหลว
ตัวทำนาย[แก้]
จากการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการชิ้นหนึ่งในปี 2003 พบว่าปัจจัยดังต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรัฐประหาร:
- ความไม่พอใจส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ
- ความไม่พอใจของหน่วยงานทางทหาร
- ความเป็นที่นิยมของกองทัพ
- ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางเจตคติของกองทัพ
- การตกต่ำทางเศรษฐกิจ
- วิกฤตการเมืองท้องถิ่น
- อิทธิพลจากรัฐประหารในภูมิภาค
- ภัยคุกคามจากภายนอก
- การเข้ามีส่วนร่วมในสงคราม
- การสมรู้ร่วมคิดกับอำนาจทางการทหารจากต่าวประเทศ
- หลักยึดเหนี่ยวของกองทัพต่อความมั่นคงของรัฐ
- วัฒนธรรมทางการเมืองของเจ้าหน้าที่รัฐ
- หน่วยงานที่ขาดการมีส่วนร่วมทางการบริหาร
- ประวัติของการเป็นอาณานิคม
- การพัฒนาเศรษฐกิจ
- การส่งออกที่ไม่กระจายรูปแบบ
- องค์ประกอบทางชนชั้นของเจ้าหน้าที่รัฐ
- ขนาดของกองทัพ
- ความเข้มแข็งของสังคมภาคพลเมือง
- ความน่าไว้วางใจของระบบการปกครอง
- ประวัติการเกิดรัฐประหารในรัฐ[2]
ส่วนชิ้นงานทบทวนวรรณกรรมจากปี 2016 มีการกล่าวถึงปัจจัยอื่นเพิ่มเข้ามา เช่น ความแตกย่อยเป็นกลุ่มของกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic factionalism), การสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ, ความขาดประสบการณ์ของผู้นำ, การเติบโตที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า, การสูงขึ้นของค่าครองชีพอย่างฉับพลัน และความยากจน[3]
ตัวทำนายที่สำคัญหนึ่งของการเกิดรัฐประหารในอนาคตคือจำนวนรัฐประหารสะสมในอดีต[2][4][5] ระบบการปกครองแบบผสมมีแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหารมากกว่ารัฐเผด็จการหรือรัฐประชาธิปไตย[6] ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้มีแนวโน้มเกิดรัฐประหารเพิ่มขึ้น[7]
รายชื่อผู้นำจากรัฐประหารในปัจจุบัน[แก้]
ตารางด้านล่างแสดงรายชื่อประเทศและผู้นำที่เข้าสู่อำนาจจากรัฐประหาร และยังคงอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Powell, Jonathan M.; Thyne, Clayton L. (2011-03-01). "Global instances of coups from 1950 to 2010 A new dataset". Journal of Peace Research (ภาษาอังกฤษ). 48 (2): 249–259. doi:10.1177/0022343310397436. ISSN 0022-3433. S2CID 9066792.
- ↑ 2.0 2.1 Belkin, Aaron; Schofer, Evan (1 October 2003). "Toward a Structural Understanding of Coup Risk". Journal of Conflict Resolution. 47 (5): 594–620. doi:10.1177/0022002703258197. ISSN 0022-0027. S2CID 40848052.
- ↑ Bell, Curtis (17 February 2016). "Coup d'État and Democracy". Comparative Political Studies. 49 (9): 0010414015621081. doi:10.1177/0010414015621081. ISSN 0010-4140. S2CID 155881388.
- ↑ Przeworski, Adam; Alvarez, Michael E.; Cheibub, Jose Antonio; Limongi, Fernando (2000). Democracy and Development: Political Institutions and Well-Being in the World, 1950–1990. Cambridge Studies in the Theory of Democracy. Cambridge University Press. ISBN 9780521793797.
- ↑ Londregan, John B.; Poole, Keith T. (1 January 1990). "Poverty, the Coup Trap, and the Seizure of Executive Power". World Politics. 42 (2): 151–183. doi:10.2307/2010462. ISSN 1086-3338. JSTOR 2010462.แม่แบบ:Paywall
- ↑ Hiroi, Taeko; Omori, Sawa (1 February 2013). "Causes and Triggers of Coups d'état: An Event History Analysis". Politics & Policy. 41 (1): 39–64. doi:10.1111/polp.12001. ISSN 1747-1346.
- ↑ Houle, Christian (1 September 2016). "Why class inequality breeds coups but not civil wars". Journal of Peace Research. 53 (5): 680–695. doi:10.1177/0022343316652187. ISSN 0022-3433. S2CID 113899326.
- ↑ "Twenty Years Later: The Tajik Civil War And Its Aftermath". Radio Free Europe/Radio Liberty. 26 June 2017. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 8 August 2017.
บรรณานุกรม[แก้]
- Luttwak, Edward (1979) Coup d'État: A Practical Handbook. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-17547-1.
- De Bruin, Erica (2020) How to Prevent Coups d'État. Cornell University Press.
- Schiel, R., Powell, J., & Faulkner, C. (2020). "Mutiny in Africa, 1950–2018". Conflict Management and Peace Science.
- Singh, Naunihal. (2014) Seizing Power: The Strategic Logic of Military Coups. Johns Hopkins University Press.
- Malaparte, Curzio (1931). Technique du Coup d'État (ภาษาฝรั่งเศส). Paris.
- Finer, S.E. (1962). The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics. London: Pall Mall Press. p. 98.
- Goodspeed, D. J. (1962). Six Coups d'État. New-York: Viking Press Inc.
- Connor, Ken; Hebditch, David (2008). How to Stage a Military Coup: From Planning to Execution. Pen and Sword Books Ltd. ISBN 978-1-84832-503-6.
- McGowan, Patrick J. (2016). "Coups and Conflict in West Africa, 1955-2004". Armed Forces & Society. 32: 5–23. doi:10.1177/0095327X05277885. S2CID 144318327.
- McGowan, Patrick J. (2016). "Coups and Conflict in West Africa, 1955-2004". Armed Forces & Society. 32 (2): 234–253. doi:10.1177/0095327X05277886. S2CID 144602647.
- Beeson, Mark (2008). "Civil–Military Relations in Indonesia and the Philippines". Armed Forces & Society. 34 (3): 474–490. doi:10.1177/0095327X07303607. S2CID 144520194.
- n'Diaye, Boubacar (2016). "How Not to Institutionalize Civilian Control: Kenya's Coup Prevention Strategies, 1964-1997". Armed Forces & Society. 28 (4): 619–640. doi:10.1177/0095327X0202800406. S2CID 145783304.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แม่แบบ:Wiktionary inline
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Coups d'état
- John J. Chin, David B. Carter & Joseph G. Wright. ชุดข้อมูลของความพยายามรัฐประหารทั้งจากกองทัพและไม่ใช่จากกองทัพในทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 1946
- Powell, Jonathan & Clayton Thyne. Global Instances of Coups from 1950-Present.