เบญจา หลุยเจริญ
เบญจา หลุยเจริญ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน 2556 – 22 พฤษภาคม 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย |
ถัดไป | วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 เมษายน พ.ศ. 2496 |
คู่สมรส | นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ |
ศาสนา | พุทธ |
เบญจา หลุยเจริญ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต อดีตอธิบดีกรมศุลกากร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร
ประวัติ[แก้]
เบญจา หลุยเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2496 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 13 จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4616)
การทำงาน[แก้]
เบญจา หลุยเจริญ เข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร ในปี พ.ศ. 2546 เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2548 เป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปี พ.ศ. 2551 เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2554 และตำแหน่งสุดท้ายคือ อธิบดีกรมศุลกากร ก่อนจะลาออกจากราชการเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[1] เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเธอเหลือระยะเวลาในการรับราชการอีกเพียง 3 เดือนเท่านั้น
คดีความ[แก้]
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ พิพากษาให้เธอมีความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้จำคุก 3 ปี จากกรณีนายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 ส่งผลให้ราชการเสียหาย ต่อมาเธอได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นหนังสือรับรองเพื่อรับการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่ต้องหาคดีของกรมสรรพากร มีวงเงินไม่เกิน 4.2 แสนบาท[2]
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง นัดอ่านฏีกา คดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง โดยที่ศาลฏีกาเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1-4 (นางเบญจา หลุยเจริญ จำเลยที่ 1) ในการตอบข้อหารือประเมินภาษี การซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ ให้กับจำเลยที่ 5 รับทราบนั้น แอบแฝงเจตนาที่จะช่วยให้ นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ไม่ต้องแจ้งรายได้ที่เป็นส่วนต่างการซื้อขายหุ้นที่ราคาต่ำกว่าทุน ซึ่งแนวการตอบข้อหารือนั้นไม่ตรงกับข้อหารือที่กรมสรรพากรเคยวินิจฉัยไว้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ส่วนที่จำเลยขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอลงอาญา เห็นว่าควรลดโทษให้ 1 ใน 3 พิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 สองปี[3]
นางเบญจา หลุยเจริญ ถูกส่งตัวเข้าทัณฑสถานหญิง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2544 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
- ↑ คุก 3 ปี"เบญจา-3ขรก.สรรพากร"ช่วย"ลูกทักษิณ"เลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ
- ↑ [1]
- ↑ ส่งตัวฝากขัง "เบญจา หลุยเจริญ" และพวก นอนคุก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๐๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- นักโทษของประเทศไทย
- อธิบดีกรมศุลกากร