ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ |
ถัดไป | ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | กฤษณพงศ์ กีรติกร |
ถัดไป | หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 |
คู่สมรส | ทันตแพทย์หญิง สุภาพร เจริญเศรษฐศิลป์ |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[1] ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[2]ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค[3] ประธานคณะกรรมการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศ[4] ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา [5] ประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ [6]กรรมการในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ[7]ประธานกรรมการมูลนิธิเด็กดี [8]ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กประถมวัย[9]กรรมการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [10]กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นคนไทยที่เป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร และอดีตเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม) และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย)
ประวัติ[แก้]
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญจิตเวชศาสตร์ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร (Royal College of Psychiatrists) [11]อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น แพทยสภาไทย อนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญ จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น แพทยสภาแห่งสหราชอาณาจักร (General Medical Council: GMC-UK)[12] วุฒิบัติผู้เชี่ยวชาญด้าน Cognitive Behavioural Therapy, [[ลิงก์เสีย] Institute of Cognitive Therapy and Research][13], PA, USA
การทำงาน[แก้]
งานการศึกษา[แก้]
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เคยเป็นรองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์อาวุโส มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเป็นคนไทยที่เป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร[14]
ต่อมาได้ร่วมกับ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา จัดตั้งโรงเรียนสัตยาไสขึ้น เป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการพัฒนาจริยธรรมในวัยเรียน และ น.พ.ธีระเกียรติ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการศูนย์จิตวิทยาการศึกษา ซึ่งจัดตั้งโดยมูลนิธิยุวสถิรคุณ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[15]
ตั้งแต่มิถุนายน 2564 เป็นครูใหญ่โรงเรียนนิวตัน
งานการเมือง[แก้]
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม) เมื่อปี พ.ศ. 2535 ต่อมาหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย)[16] และต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่ง[17] หลังจากนั้นได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[18] และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[19] เขาได้แต่งตั้งหม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยหม่อมหลวงปริยดา ดิศกุล เป็นพี่สาว ของ พันเอก หม่อมหลวงกุลชาต ดิศกุล [20]ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
ตำแหน่งในปัจจุบัน[แก้]
- HEAD MASTER, THE NEWTON SIXTH FORM, ประเทศไทย
- ประธานคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ
- ประธานมูลนิธิเด็กดี
- ประธานมูลนิธิสัตยาไส
- กรรมการมูลนิธิองคก์รต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย)
- ที่ปรึกษาคณะกรรมการไทย–โคเซ็น แห่งชาติ
เกียรติประวัติ[แก้]
- ผู้ได้รับรางวัลสันติภาพ GUSI 2019 ([Peace Prize] เทียบเท่ารางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแห่งเอเชีย) จากมูลนิธิ GUSI ประเทศฟิลิปปินส์จากผลงานที่โดดเด่นด้านการศึกษาและการบริการสาธารณะ[21]
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[22]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[23]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2559 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[25]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/085/43.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/096/14.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/142/20.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/100/19.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/286/T_0027.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/097/T_0050.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/D/007/T_0108.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0005.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0008.PDF
- ↑ Congress chats with Dr Teerakiat Jareonsettasin and Dr Mark Berelowitz (Thai Cave Rescue), สืบค้นเมื่อ 2021-06-12
- ↑ https://www.gmc-uk.org/doctors/3648193
- ↑ https://beckinstitute.org/team/teerakiat-jareonsettasin-md/
- ↑ https://www.gmc-uk.org/doctors/3648193
- ↑ “นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์” ผอ.ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง
- ↑ พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 296 ง, 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559.
- ↑ https://goodlifeupdate.com/healthy-food/dining/14294.html
- ↑ https://au.wikiqube.net/wiki/Gusi_Peace_Prize#2019
- ↑ "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". www.kmitl.ac.th.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๒, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กันยายน 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- แพทย์ชาวไทย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยลอนดอน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.