ข้ามไปเนื้อหา

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
เสริมศักดิ์ ใน พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567
(4 เดือน 7 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ถัดไปสรวงศ์ เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ.2567
(7 เดือน 26 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าอิทธิพล คุณปลื้ม
ถัดไปสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(1 ปี 6 เดือน 25 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าศักดา คงเพชร
ถัดไปกฤษณพงศ์ กีรติกร
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 6 เดือน 8 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสรอรรถ กลิ่นประทุม
สมบัติ อุทัยสาง
ประชา มาลีนนท์
ประมวล รุจนเสรี
สุธรรม แสงประทุม
ถัดไปบัญญัติ จันทน์เสนะ
ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2548
(2 ปี 5 เดือน 8 วัน)
ก่อนหน้ายงยุทธ วิชัยดิษฐ
ถัดไปสุจริต ปัจฉิมนันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2548–2549)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
เพื่อไทย (2555–2561), (2562–ปัจจุบัน)
คู่สมรสระเบียบรัตน์ อมตวงศ์ (สมรส 2518)
ทรัพย์สินสุทธิ31 ล้านบาท
(พ.ศ. 2567)[1]
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
กองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2549
ยศ นายกองเอก
บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดน
กองอาสารักษาดินแดนจังหวัดนครพนม
กองอาสารักษาดินแดนจังหวัดขอนแก่น

เสริมศักดิ์​ พงษ์พานิช (เกิด 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย [2] อดีตอธิบดีกรมโยธาธิการ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อดีตรองประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ และอดีตกรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ [3]

ประวัติ

[แก้]

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรของนายจำรัส กับนางพริ้ง พงษ์พานิช มีพี่น้อง 9 คน หนึ่งในนั้นคือ มนตรี พงษ์พานิช[4] อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมรสกับ นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช (อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดขอนแก่น)[5] มีบุตร 3 คน หญิง 2 คน ชาย 1 คน ซึ่งบุตรชายคือ ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคเพื่อไทย และอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ

การศึกษา

[แก้]

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่

ในระหว่างรับราชการ ได้เข้ารับการศึกษา อบรมหลักสูตรต่างๆ ได้แก่

  • หลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอ รุ่นที่ 18
  • หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 20
  • หลักสูตรฝ่ายอำนวยการอาสารักษาดินแดน ชุดที่ 5
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับ 9 ของกระทรวงมหาดไทย
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับ 10 ของกระทรวงมหาดไทย
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 39

การรับราชการ

[แก้]

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เริ่มรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และเป็นปลัดอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง (ไปแก้ไขปัญหากรณีนายอำเภอคนก่อนเสียชีวิตจากการวางระเบิด ของ ผกค.) นายอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ นายอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี นายอำเภอเมืองราชบุรี และผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดปทุมธานี และตำแหน่งอธิการวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จากนั้นได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อธิบดีกรมโยธาธิการ และตำแหน่งสุดท้าย คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย

งานการเมือง

[แก้]

เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2548)[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[7] และ เสริมศักดิ์ ได้เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[9] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[10] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) และในปี พ.ศ. 2566 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในคณะรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน โดยเป็นรัฐมนตรีที่มีอายุมากที่สุดในคณะดังกล่าว[11] ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ยศกองอาสารักษาดินแดน

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักข่าวอิศรา, 60 ล้าน! 'เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช' อดีตรมว.ท่องเที่ยวฯ รายได้ 2.7 ล./ปี, สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568
  2. 2.0 2.1 "รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2018-10-03.
  3. ข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
  4. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช[ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  7. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  8. "เสริมศักดิ์เข้าร่วมชุมนุม นปช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  9. บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว[ลิงก์เสีย]
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  11. "เปิดประวัติ 10 รัฐมนตรีว่าการ 'กระทรวงเศรษฐกิจ' ใน 'ครม.เศรษฐา1'". bangkokbiznews. 2023-09-02.
  12. รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีบรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๗๒, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
ก่อนหน้า เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ถัดไป
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(ครม. 63)

(28 เมษายน พ.ศ. 2567 – 3 กันยายน พ.ศ. 2567)
สรวงศ์ เทียนทอง
อิทธิพล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(ครม. 63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – 27 เมษายน พ.ศ. 2567)
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ศักดา คงเพชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(ครม. 60)

(27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
กฤษณพงศ์ กีรติกร
สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
สรอรรถ กลิ่นประทุม
สมบัติ อุทัยสาง
ประชา มาลีนนท์
ประมวล รุจนเสรี
สุธรรม แสงประทุม

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ครม. 55)

(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
บัญญัติ จันทน์เสนะ
ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ปลัดกระทรวงมหาดไทย
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2548)
สุจริต ปัจฉิมนันท์