ภิรมย์ กมลรัตนกุล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ภิรมย์ กมลรัตนกุล | |
---|---|
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2551 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ |
ถัดไป | ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2492 อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทย |
คู่สมรส | สุธารา กมลรัตนกุล |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] กรรมการอิสระ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข[2] อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2545 อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ประวัติ[แก้]
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Master of Science (Clinical Epidemiology)จาก McMaster University และMaster of Science (Clinical Epidemiology)มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ปริญญาบัตรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[3]
ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป หนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวและสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน จากแพทยสภาแห่งประเทศไทย Certificatie : Distinguished Visiting Scholar in Clinical Economics จากThe Wharton School (มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) และ Certificate in the Management Training Program จาก The University of Toronto, CANADA
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล สมรสกับ สุธารา กมลรัตนกุล ชาวกรุงเทพมหานคร มีธิดา 2 คน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2546 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2542 –
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ratchakitcha.soc.go.th. 05 มีนาคม 2561. Like(07 มีนาคม 2561 ที่เข้าถึง).
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
- ↑ ชีวประวัติ ภิรมย์ กมลรัตนกุล
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๑๔, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ก่อนหน้า | ภิรมย์ กมลรัตนกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ | ![]() |
![]() อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1 เมษายน พ.ศ. 2551 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559) |
![]() |
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- ศาสตราจารย์
- นิสิตเก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- แพทย์ชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอห้วยคต
- บุคคลจากโรงเรียนอุทัยวิทยาคม
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย
- อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา