ข้ามไปเนื้อหา

หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงคหกรรมบดี
(ชม จารุรัตน์)
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
ถัดไปนาวาเอก หลวงประสิทธิ์จักรการ
(พ้วน โหตรภวานนท์)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
ถัดไปพลตรี สวัสดิ์ สวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2484 (7 ปี 244 วัน)
นายกรัฐมนตรีพลเอก พจน์ พหลโยธิน
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
ถัดไปทองเปลว ชลภูมิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่สมรสนางภัทรา (สุนทรเวช)
บุตร5 คน
บุพการี
  • พระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) (บิดา)
  • คุณหญิงตาบ (วัชราภัย) ศรีสังกร (มารดา)

อำมาตย์ตรี หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475, คณะกรรมานุการพิจารณาร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (สมุดปกเหลือง), เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร[1] [2], เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ปลัดกระทรวงคมนาคม,รัฐมนตรี , รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

ประวัติ

[แก้]

หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) เป็นบุตรชายคนโตของพระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) ประธานศาลฎีกากับคุณหญิงตาบ (วัชราภัย) ศรีสังกร ธิดาหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 3 คน ได้แก่[3]

  1. หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์)
  2. นางทวี (จารุรัตน์) สมรสกับ พระสนิทวงศ์อนุวรรต (ม.ร.ว.พร้อมใจ สนิทวงศ์)
  3. นายอาณัติ จารุรัตน์ สมรสกับ นางเสงี่ยม (สุนทรธรรม)

การศึกษา

[แก้]

หลวงคหกรรมบดีศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม (เลขประจำตัว ส.ธ. 303) และโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นสำเร็จวิชารัฐศาสตร์ จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[4]

การทำงาน

[แก้]

กรรมานุการพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ

[แก้]

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2476 เวลา 08.20 นาฬิกา ที่ห้องประชุมวังปารุสกวัน ซึ่งขณะนั้นคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองใช้เป็นสถานที่ทำงานหลายอย่างของกลุ่มผู้ก่อการ ได้มีการประชุม ‘กรรมานุการ พิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ’ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน ดังมีรายนามต่อไปนี้[9]

  1. หลวงคหกรรมบดี
  2. หลวงเดชสหกรณ์
  3. หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์
  4. พันเอกพระยาทรงสุรเดช
  5. นายทวี บุณยเกตุ
  6. นายแนบ พหลโยธิน
  7. หลวงประดิษฐมนูธรรม
  8. นายประยูร ภมรมนตรี
  9. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
  10. พลเรือโทพระยาราชวังสัน
  11. นายวิลาศ โอสถานนท์
  12. พระยาศรีวิศาลวาจา
  13. หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ
  14. หลวงอรรถสารประสิทธิ์

ตำแหน่งพิเศษ

[แก้]
  • นายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม พ.ศ. 2484 - 2484

งานเขียน

[แก้]
  • หน้าที่ในทางเศรษฐกิจแห่งตั๋วแลกเงิน - หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) ในวารสารนิติสาส์น (แผนกสามัญ) ปี 2472
  • เรื่องราวของพันตรีควง อภัยวงศ์

ครอบครัว

[แก้]

ด้านครอบครัว หลวงคหกรรมบดี ได้สมรสกับ นางสาวภัทรา สุนทรเวช มีบุตรธิดารวม 5 คน ดังนี้[3]

  1. นางพงษ์ศิริ (จารุรัตน์) สมรสกับ นายผลึก สิงหผลิน
  2. พล.ต.อ.เสริม จารุรัตน์ อดีตหัวหน้านายตำรวจราชสำนักและสมาชิกวง อ.ส. วันศุกร์ สมรสกับหม่อมเจ้าหญิงวุฒิสวาท วุฒิไชย พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ต่อมาหย่าร้างและสมรสใหม่กับคุณหญิงชโลบล (จุลละรัต)
  3. นางทวี สนิทวงศ์
  4. นายกุศล ตีรณสาร
  5. นายอาณัติ จารุรัตน์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ทำเนียบเลขาธิการ - สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  2. ประกาศ ตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  3. 3.0 3.1 ทำเนียบสายสกุล ณ สงขลา สายเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) - ชมรมสายสกุล ณ สงขลา
  4. นรนิติ เศรษฐบุตร. เอกสารการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕.--นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๕๒[ลิงก์เสีย]
  5. ประกาศ ตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  6. หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ คอลัมน์: สยามอัศจรรย์: กระทรวงคมนาคมเส้นเลือดใหญ่ด้านขนส่งของไทย[ลิงก์เสีย]
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
  9. "พระปกเกล้ากษัตริย์นักประชาธิปไตย - จุลสารสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-01-14.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, (ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา รัชกาลที่ 8) เล่ม 57, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483, หน้า 1897.
ก่อนหน้า หลวงคหกรรมบดี (ชม จารุรัตน์) ถัดไป
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
(10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2484)
ทองเปลว ชลภูมิ
พลตรีไชย ประทีปะเสน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 - 27 มีนาคม พ.ศ. 2489)
หลวงชำนาญอักษร (ศิริ เพชรบุล)
หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
นาวาเอก หลวงประสิทธิ์จักรการ
(พ้วน โหตรภวานนท์)
หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 - 8 เมษายน พ.ศ. 2491)
พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ