จรัส สุวรรณเวลา
จรัส สุวรรณเวลา | |
---|---|
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มกราคม พ.ศ. 2532 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2539 (7 ปี 88 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล |
ถัดไป | ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 จังหวัดตรัง ประเทศสยาม |
คู่สมรส | ศ.พญ.คุณหญิง นิตยา สุวรรณเวลา |
บุตร | ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ทพ.ญ.ดร.ใจแจ่ม สุวรรณเวลา |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา เป็นข้าราชการชาวไทย ประธานกรรมการคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอดีตนายกสภาและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ[แก้]
ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เกิดที่ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นบุตรจ้อง และแล่ม สุวรรณเวลา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน สมรสกับศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณหญิงนิตยา สุวรรณเวลา (สกุลเดิม อัศวนนท์) มีธิดา 2 คน คือ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นิจศรี ชาญณรงค์ กรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ. 2562-2564 และ อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ใจแจ่ม สุวรรณเวลา
ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง และชั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จเตรียมแพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับเหรียญทองแดงคะแนนเยี่ยมปีที่ 1 และ 2 และปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้รับเหรียญทองแดงคะแนนเยี่ยมในการสอบและเหรียญทองคะแนนเยี่ยมตลอดหลักสูตร รวมทั้งเหรียญทองแดงคะแนนเยี่ยมในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา อายุรศาสตร์ และสูติ-นรีเวชวิทยา ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์เป็นคนแรก เพื่อไปศึกษาต่อวิชาประสาทศัลยศาสตร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญา Master of Science จากมหาวิทยาลัยชิคาโก และ American Board of Neurological Surgery จาก Wake Forest University ได้รับเกียรติเป็นสมาชิกของ F.A.C.S. (Fellows of American College of Surgeons) และCongress of Neurological Surgeons
ประสบการณ์การทำงาน[แก้]
- ศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประสาทศัลยแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก
- รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT)
- president of the Academia Eurasiana Neurochirurgica.
- visiting professor, the Bowman Gray School of Medicine, North Carolina, USA
- ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย
- นายกสมาคมประสาทศัลยศาสตร์อาเซียน
- ที่ปรึกษาด้านการวิจัยสุขภาพและพัฒนาการวางแผนครอบครัว องค์การอนามัยโลก
- ที่ปรึกษาด้านอุดมศึกษา องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
- ประธานกรรมการ Council on Health Research for Development
- กรรมการ International Clinical Epidemiology Network
- Member of the Regional Scientific Committee for Asia and the Pacific, UNESCO
- Member, International World Conference on Higher Education Follow-up Committee, UNESCO
- Member, Board of the Association of Southeast Asian Institute of Higher Learning (ASAIHL)
- Member, Administrative Board of International Association of Universities
- Member, Editorial Board of International Journal of Medical Education
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สมาชิกวุฒิสภา
- กรรมการแพทยสภา
- อนุกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงสาธารณสุข
- กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
- นายกสภาสถาบันราชภัฎพระนครศรีอยุธยา[2]
ตำแหน่งในปัจจุบัน[แก้]
- นายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- กรรมการสภากาชาดไทย
- กรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- ประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
- ประธานกรรมการพิจารณาทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์
- ประธานอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
- รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายการแพทย์
- รองประธานศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- รองประธานมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)
- อาจารย์พิเศษ หน่วยศัลยศาสตร์ประสาท ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประธานกรรมการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
เกียรติประวัติ[แก้]
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2528 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สภาวิจัยแห่งชาติ
- รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สภาวิจัยแห่งชาติ
- รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น กองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- Health-for-All Medal องค์การอนามัยโลก
- รางวัลบุคคลตัวอย่าง มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
- รางวัลเกียรติคุณบุคคลดีเด่นของชาติ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
- ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- Honorary Member, the Society of Neurologial surgeons
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ[แก้]
สภาวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้จรัสเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี พ.ศ. 2528 เนื่องจากผลงานการวิจัยปัญหาและอุบัติการของกระดูกศีรษะโหว่งบริเวณเหนือจมูก การปรับปรุงวิธีการผ่าตัดรักษา การสร้างเครื่องมือราคาถูกสำหรับใช้ผ่าตัด การริเริ่มศึกษามาตรฐานและดัชกะโหลกศีรษะของคนไทยเพื่อใช้เปรียบเทียบความผิดปรกติ การวิจัยปัญหายาเสพติดในกลุ่มชาวเขาด้วยการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาอาชีพ และการศึกษาสุขภาพอนามัยของชาวชนบท
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2528 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2559 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[7]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2527 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ –
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ""ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา" ภารกิจชาติ...กอบกู้วิกฤตการศึกษาไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏมหาสารคาม สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี และสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร (นายนิสัย เวชชาชีวะ, ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณเวลา, นายภูษณ ปรีย์มาโนช, ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๙, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
ก่อนหน้า | จรัส สุวรรณเวลา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. เกษม สุวรรณกุล |
![]() |
![]() อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2 มกราคม พ.ศ. 2532 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2539) |
![]() |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. เทียนฉาย กีระนันทน์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2475
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- แพทย์ชาวไทย
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย
- บุคคลจากอำเภอเมืองตรัง
- อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนวิเชียรมาตุ
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยชิคาโก