มาลัย หุวะนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาลัย หุวะนันทน์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร
อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514
ก่อนหน้าบุญชนะ อัตถากร
ถัดไปชุบ กาญจนประกร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มกราคม พ.ศ. 2455
เสียชีวิต7 มิถุนายน พ.ศ. 2522 (67 ปี)
คู่สมรสศ.คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์

ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1]

ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.มาลัย หุวะนันทน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว. จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน และ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา เคยร่วมขบวนการสมาชิกเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกาเคยเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึงปี พ.ศ. 2495[2] ต่อมาโอนย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งคณบดีในระหว่างปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2499 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2497 และก่อตั้ง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งโอนไปนิด้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้ร่วมก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี[3] ในปี พ.ศ. 2510 จนถึงปี พ.ศ. 2514 และ นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2515

ในปี พ.ศ. 2511 ได้ร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย และจากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (ครม.32) และเป็นประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติคนแรก

สมรสกับ ศาสตราจารย์ คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ ป.ม. ท.จ. ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ และนายกสมาคมสตรีหลายแห่ง รวมถึงเป็น กรรมาธิการชาวไทย(คนแรก)ใน คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีของสหประชาชาติ พ.ศ. 2515 - 2517 (UN Commission on status of women (1973))

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นิด้า จัดงานเนื่องในโอกาส 100 ปี ศ.ดร.มาลัย หุวะนันทน์
  2. ทำเนียบผู้ว่าราชการการจังหวัดภูเก็ต
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๗ ตุลาคม ๒๕๑๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๓๐๔๗, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔๕, ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐