ศรีเมือง เจริญศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไปจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสรังสิมา เจริญศิริ

ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคพลังประชาชน

ประวัติ[แก้]

ศรีเมือง เจริญศิริ เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ที่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรของนายเสี่ยวเพ็ง กับ นางแก่น เจริญศิริ สมรสกับนาง รังสิมา เจริญศิริ มีบุตร 2 คน คือ ดร.มติ เจริญศิริ และ ดร.ชนาวีร์ เจริญศิริ[1] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (รุ่นที่ 1 ในสมัยที่ยังเป็น วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี) ต่อมา จบการศึกษาในระดับปริญญาโท พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และยังได้เกียรติคุณทางด้านรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อีกด้วย

นอกจากนี้ยังได้รับประกาศนียบัตรในด้านต่างๆ จากหลายสถาบัน อาทิ

  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 9 จากสถาบันพระปกเกล้า
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 4 จากสถาบันพระปกเกล้า
  • ประกาศนียบัตร Telecommunication Senior management จากประเทศแคนาดา โดยทุนรัฐบาลแคนาดา
  • ประกาศนียบัตร Telephone Outside Plant Engineering จากประเทศญี่ปุ่น โดยทุนโคลัมโบ
  • ประกาศนียบัตร Optical Fiber Cable จากประเทศญี่ปุ่น
  • ประกาศนียบัตร PCM Transmission System จากประเทศญี่ปุ่น

การทำงาน[แก้]

ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ เริ่มรับราชการในสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม จากนั้นจึงย้ายมาเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดการสื่อสารแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานการสื่อสารแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2520 ได้รับตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่ง อาทิผู้อำนวยการกองขนส่ง ผู้อำนวยการฝ่ายโทรคมนาคมภูมิภาค จนตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้ตรวจการใหญ่ ฝ่ายโทรคมนาคม การสื่อสารแห่งประเทศไทย

ต่อมาได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2543 และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา ต่อจากนั้นได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ดร.ศรีเมือง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551[2] กระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองในคดียุบพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551[3] ภายหลังพ้นจากการถูกตัดสิทธิทางการเมือง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่จังหวัดมหาสารคาม ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผลในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

ดร.ศรีเมือง เจริญศิริ เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 [4]

นอกจากหน้าที่การราชการแล้ว ยังเคยมีหน้าที่ทางสังคมอีกหลายหน้าที่ อาทิ ประธานชมรมสมาชิกวุฒิสภาอีสาน ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาชาวมหาสารคาม ประธานสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสารคามพิทยาคม กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และนายสมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการศึกษาธิการ ครบ 1 ปี 2 ธันวาคม 2552[ลิงก์เสีย]
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  4. "อากาศเป็นใจม็อบเสื้อแดงแน่นผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๐, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า ศรีเมือง เจริญศิริ ถัดไป
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์