ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 |
เสียชีวิต | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 (79 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตวุฒิสมาชิก และเป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
ประวัติ[แก้]
ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 ในราชสกุลเทพหัสดิน เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก จากนั้นไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส และโรงเรียนราชบุรีวิทยาลัย (วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา) จากนั้นได้ประกอบอาชีพเป็นครู แล้วจึงสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พล.อ.ยศ สมรสกับ คุณหญิง เพลิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา มีบุตร 3 คน คือ พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก นางสาวณัฐธยาน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ นางสาวสิริยส เทพหัสดิน ณ อยุธยา
การทำงาน[แก้]
พล.อ.ยศ เข้ารับราชการทหารครั้งแรกในยศร้อยตรี เป็นผู้บังคับหมวดทหารราบ กองพันทหารราบที่ 19 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2483 และเจริญก้าวหน้าเรื่อยมา เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 3 และรองผู้บัญชาการทหารบก
พล.อ.ยศ ได้รับแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ในปี พ.ศ. 2511[1] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[2] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐมนตรีชุดต่อมา (ครม.41)[3]
ร่วมก่อการกบฎ[แก้]
ในปี พ.ศ. 2528 พล.อ.ยศ เข้าร่วมกับนายทหารนอกประจำการคณะหนึ่ง ประกอบด้วย พันเอก มนูญ รูปขจร นาวาอากาศโท มนัส รูปขจร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอก เสริม ณ นคร พลอากาศเอก กระแส อินทรรัตน์ พลตรี ทองเติม พบสุข พันเอก ประจักษ์ สว่างจิต พันเอก สาคร กิจวิริยะ ร่วมด้วยทหารประจำการอีกส่วนหนึ่ง อาทิ เอกรัฐ ษรารุรักษ์ และพลเรือนบางส่วนซึ่งเป็นผู้นำแรงงาน อาทิ สวัสดิ์ ลูกโดด ประทิน ธำรงจ้อย โดยได้ความสนับสนุนทางการเงินจาก เอกยุทธ อัญชันบุตร พยายามยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กบฏครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่นายกรัฐมนตรีเดินทางไปราชการที่ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น อยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในทวีปยุโรป ซึ่งการกระทำการครั้งนั้นถูกเรียกว่า "กบฏทหารนอกราชการ" หรือ กบฏ 9 กันยา[4] หรือ กบฏสองพี่น้อง[5] เป็นความพยายามรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดที่ ๓
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ รัตนทรัพย์ศิริ, ปกรณ์ (September 8, 2012). "ปฏิวัติ 9 กันยา นัดแล้วไม่มา". วอยซ์ทีวี. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
- ↑ รอดเพชร, สำราญ (February 16, 2010). "รัฐประหาร 53 ใครจะกล้าทำ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2460
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- ราชสกุลเทพหัสดิน
- ณ อยุธยา
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ครูชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชาธิวาส
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)