นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)
พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ว.ม.ล. | |
---|---|
![]() | |
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานวุฒิสภาไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กรกฎาคม 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | ทวี บุณยเกตุ |
ถัดไป | ศิริ สิริโยธิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงวิจิตรวาทการ |
ถัดไป | พจน์ สารสิน |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กุมภาพันธ์ 2497 – 26 กุมภาพันธ์ 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม 2495 – 4 กุมภาพันธ์ 2497 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หลวงวิจิตรวาทการ |
ถัดไป | แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มีนาคม 2493 – 28 มีนาคม 2495 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พจน์ สารสิน |
ถัดไป | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (70 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงฉวี วรการบัญชา จันทร์ฟอง วรการบัญชา คำเอ้ย วรการบัญชา |
บุตร | 4 คน |
ศาสนา | พุทธ |
พันเอก นายวรการบัญชา[1] นามเดิม บุญเกิด สุตันตานนท์ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2446 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517) อดีตประธานวุฒิสภา, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
ประวัติ[แก้]
พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เป็นบุตรคนแรกใน 4 คนของ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์) และเจ้ากาบแก้ว ณ ลำพูน โดยมีพี่น้อง ดังนี้
- นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันนานนท์)
- นางเฉลิม บุษบรรณ
- นางฉลอง สารสิทธิประกาศ
- นางฉลวย ณ ลำพูน
พันเอก นายวรการบัญชา ได้ทำการสมรส 3 ครั้ง ได้แก่
- คุณหญิงฉวี วรการบัญชา (ฉวี บุญราศรี)
- ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน
- นางจันทร์ฟอง วรการบัญชา มีบุตรธิดาดังนี้
- ร.ต.ต.บัณฑิต สุตันตานนท์
- นางกิ่งแก้ว ณ เชียงใหม่
- นายธีระ สุตันตานนท์
- นางคำเอ้ย วรการบัญชา มีบุตรดังนี้
- นายเมธี สุตันตานนท์
พันเอก นายวรการบัญชา มีบุตรบุญธรรมคนหนึ่งคือ นางวันดี ณ เชียงใหม่ (สมรสกับ เจ้าทิพย์สมาตย์ ณ เชียงใหม่)
วัยเด็ก[แก้]
นายบุญเกิด สุตันตานนท์ เกิดที่บ้านริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าเรียนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพมหานคร มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสอบไล่ได้ที่ 3 เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 8 ขณะอายุ 15 ปีเศษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เบิกตัวเข้าเฝ้าฯ และมีพระกระแสรับสั่งแต่งตั้งให้เป็น "นายรองสนิท" ตำแหน่งมหาดเล็กห้องที่พระบรรทม เมื่อปี พ.ศ. 2463 โดยทรงมอบหมายให้อยู่ในความอุปการะอบรมเลี้ยงดูและเป็นบุตรบุญธรรมของพระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) ต่อมามีพระราชดำริให้ส่งตัวไปศึกษาวิชาแพทย์ที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2464 ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 พันเอก นายวรการบัญชา จึงเดินทางกลับมาภูมิลำเนาเดิมพักอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
งานการเมือง[แก้]
เมื่อกลับมาอยู่เชียงใหม่ ได้รับมอบหมายจากพระพิจิตรโอสถผู้เป็นบิดาให้ดูแลไร่นาและเก็บผลประโยชน์ที่จังหวัดเชียงราย ระหว่างนั้นได้ศึกษากฎหมายจนจบเนติบัณฑิต ด้านชื่อเสียงในสังคมได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2479–พ.ศ. 2480 ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายหลายสมัย และได้เข้าร่วมตำแหน่งสำคัญ ๆ ในคณะรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม[2] หลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2490 ด้วยการร่วมในการรัฐประหารด้วย โดยบุคคลในคณะรัฐประหารเรียก พันเอก นายวรการบัญชาอย่างเคารพว่า "พี่วร"
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายกระทรวงเช่น รัฐมนตรีสั่งราชการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีสั่งการกระทรวงคมนาคม, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[3], รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[4], รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[5][6] ต่อมาได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและเคยเป็นประธานวุฒิสภาอีกด้วย
ในเหตุการณ์ กบฏแมนฮัตตัน วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น.นายวรการบัญชา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึก ในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี[7] โดยผ่านพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร นับว่าเป็นบุคคลแรกที่รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ การใช้กฎอัยการศึกในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในเวลาต่อมาคือในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2495 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พันเอก นายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และราชองครักษ์พิเศษแก่ นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)[8]
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[9] เดือนธันวาคมของปีเดียวกัน[10]
ถึงแก่อสัญกรรม[แก้]
พันเอก นายวรการบัญชา ยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมดหลังการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร และถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ขณะอายุ 70 ปี ที่กรุงเทพมหานคร มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2514 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2495 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2495 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2464 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[14]
- พ.ศ. 2479 –
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[15]
- พ.ศ. 2465 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 5 (ว.ป.ร.5)[16]
- พ.ศ. 2496 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[17]
- พ.ศ. 2463 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
สเปน:
- พ.ศ. 2497 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นที่ 1[19]
- พ.ศ. 2497 –
ลาว:
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระบรมรูป ชั้นที่ 1[20]
กัมพูชา:
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องอิสริยยศลำดับสหไมตรี ชั้นที่ 1[21]
- พ.ศ. 2498 –
อิตาลี:
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1[22]
- พ.ศ. 2498 –
พม่า:
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นอรรคมหาสเรสิธุ[23]
- พ.ศ. 2499 –
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นายวรการบัญชา เป็นบรรดาศักดิ์ในกรมมหาดเล็กตำแหน่งหุ้มแพรวิเศษ สมัยรัชกาลที่ 6
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายพจน์ สารสิน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่งตั้ง นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการ ฯ แทน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการให้ประกาศกฎอัยการศึก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศ แต่งตั้งนายทหารพิเศษ และราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๔, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔ ง หน้า ๑๙๖, ๑๕ มกราคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๒๐, ๑๕ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามข้าราชการและราษฎร ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๖๔, ๙ สิงหาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๔, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๑๖๕๕, ๗ เมษายน ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๓๓, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๗๒๖, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๑๒๙, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๗๕ ง หน้า ๒๒๗๘, ๒๐ กันยายน ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๓๕, ๑๐ มกราคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๘๕, ๓๑ มกราคม ๒๔๙๙
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพพันเอก นายวรการบัญชา, 2517
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
- ย่านถนนเจริญเมือง (16) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, นายวรการบัญชา : นายกเทศมนตรีคนแรกของเชียงใหม่. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,354: วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
ก่อนหน้า | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มีวุฒิสภา สมัยก่อนหน้า เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
![]() |
![]() ประธานวุฒิสภา (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) |
![]() |
ไม่มีวุฒิสภา สมัยต่อไป จิตติ ติงศภัทิย์ |
หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) |
![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (24 มีนาคม 2495 – 4 กุมภาพันธ์ 2497) |
![]() |
แปลก พิบูลสงคราม |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2447
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2517
- นักการเมืองไทย
- ประธานวุฒิสภาไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
- บรรดาศักดิ์ชั้นนาย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- สกุล ณ ลำพูน
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- พรรคชาติสังคม
- ประธานรัฐสภาไทย
- บุคคลจากอำเภอเมืองเชียงใหม่
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์