ถาวร เสนเนียม
ถาวร เสนเนียม ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 – 24 กุมภาพันธ์ 2564 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ไพรินทร์ ชูโชติถาวร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม 2551 – 8 สิงหาคม 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ประสงค์ โฆษิตานนท์ |
ถัดไป | ชูชาติ หาญสวัสดิ์ ฐานิสร์ เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มีนาคม พ.ศ. 2490 (73 ปี) จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | พล.ต.หญิง จันทิมา เสนเนียม |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน |
ยศ | ![]() |
ถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2490 ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา[1]
การศึกษา[แก้]
- ระดับเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สอบไล่ได้เนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 6 ของรุ่นที่ 25) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
บทบาททางการเมือง[แก้]
นายถาวร เสนเนียม เป็น ส.ส. และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่มีบทบาทมากผู้หนึ่ง เป็น ส.ส.ในพื้นที่จังหวัดสงขลาอย่างต่อเนื่องรวมแล้ว 7 สมัย ซึ่งก่อนเข้าสู่แวดวงการเมือง นายถาวรเคยเป็นทนายความและอัยการประจำจังหวัดกระบี่และพัทลุงมาก่อนด้วย
ในการเลือกตั้งหาเสียงเมื่อปี พ.ศ. 2548 นายถาวรได้สร้างความฮือฮาด้วยการเปิดประเด็นว่ามีเทปบันทึกเสียงของนายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุจริตการเลือกตั้งด้วยการพยายามพูดจาหว่านล้อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง สงขลา และสตูลช่วยเหลือพรรคไทยรักไทยขณะไปปฏิบัติหน้าที่ที่จังหวัดสงขลา โดยนายถาวรกล่าวว่าเป็นผู้บุกเข้าไปในห้องประชุมบันทึกเทปด้วยตนเอง[2] และได้ยื่นเทปชิ้นนี้ฟ้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) (ชุดเดียวกับชุด สามหนา ห้าห่วง อันประกอบด้วย พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ, นายปริญญา นาคฉัตรีย์, นายวีระชัย แนวบุญเนียร) แต่ทว่า กกต.มีความเห็นว่าเสียงไม่ชัดเจนไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้
และเป็นผู้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีที่ กกต. ชุดที่ 2 ที่ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน ว่าจัดการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 เป็นผลให้ศาลพิพากษาให้จำคุก กกต.ทั้งสามคน[3]
นอกจานี้ นายถาวร ยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ว่าคดีพรรคในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์อีกด้วย
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น นายถาวร เสนเนียม ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา[4]
ปลายปี พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายถาวร เสนเนียม ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย [5]
และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 นายถาวร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ดูแลพื้นที่ภาคใต้)[6] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[7] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.
ภายหลังจากพรรคประชาธิปัตย์ได้กลับมาเป็นฝ่ายค้านอีกครั้ง หลังจากแพ้การเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา คณะที่ 2 ขึ้น โดยนายถาวรได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา[8]
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557[แก้]
ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายถาวรเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยมีบทบาทเป็นผู้ดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัยของการชุมนุม [9] และติดต่อประสานกับกลุ่มแนวร่วมอื่น ๆ อันได้แก่ กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ (กปท.), เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และสันติอโศก [10] อีกทั้งเป็นแกนนำที่เวทีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ ๆ เป็นจุดอันตราย ถูกโจมตีจากอาวุธชนิดต่าง ๆ บ่อยครั้ง[11] [12]
ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน จากการชุมนุมในครั้งนี้ ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยนายถาวรเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 7[13] [14]
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
นายถาวรเป็นบุตรชายของนายพวงแก้ว และนางเริ่ม เสนเนียม โดยบิดามีอาชีพเป็นชาวนา[1] และมีน้องชายเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา เขต 4 ด้วยกัน คือ นายวินัย เสนเนียม (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ชีวิตครอบครัว นายถาวร สมรสกับ พล.ต.หญิง จันทิมา เสนเนียม ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน เป็นหญิง 2 ชาย 1 ในปี พ.ศ. 2558 นายถาวรได้รับรางวัลพ่อตัวอย่างแห่งชาติ จากงานวันพ่อแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ประจำปี 2558[15]
และหลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งห้ามพรรคการเมืองรวมถึงนักการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง นายถาวรได้ใช้เวลาช่วงนี้เป็นโปรโมเตอร์จัดการแข่งขันชกมวยไทย โดยทำการแข่งขันเป็นประจำที่เวทีมีนบุรีสปอร์ต เขตมีนบุรี มีการถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ทีนิวส์ ทุกคืนวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558[16] และในวันที่ 23-24 มกราคม พ.ศ. 2559 ยังได้จัดคู่มวยไทยอีกกว่า 20 คู่ ชกในงานกิจกรรมสมุยเฟสติวัล ที่เกาะสมุย ซึ่งนับเป็นรายการใหญ่อีกด้วย[17]
รางวัลและเกียรติยศ[แก้]
ถาวร เสนเนียม ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอกถาวร เสนเนียม เมื่อ พ.ศ. 2552[18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2541 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2538 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)[20]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "เปลือยชีวิต ฯพณฯ ถาวร เสนเนียมพ่อพวงแก้ว-แม่เริ่ม สอนลูกต้องกล้า". โฟกัสภาคใต้. 31 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559. C1 control character in
|title=
at position 57 (help); Check date values in:|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ร้องยี้ห้อยซื้อเสียง ปชป.ยันหลักฐานสัญญาตำบลละแสน-'เนวิน'ขู่ฟ้อง
- ↑ 'ถาวร'ขึ้นศาลสืบพยานโจทก์นัดคดีฟ้อง'กกต.'
- ↑ เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ ราย), เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ง หน้า ๑๗๗ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ คณะรัฐมนตรีเงา จากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ "ม็อบ กปปส. จัดจุดทำข่าว ป้องมวลชนคุกคามสื่อ ด้านถาวร ลั่นจะดูแลความปลอดภัยให้เอง". เอ็มไทยดอตคอม. 24 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ หน้า 066-067, แง้มวอร์รูม'กปปส.' . นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
- ↑ "นายถาวร เสนเนียม แกนนำกปปส.อนุสาวรีย์ชัยฯ ระบุว่า เหตุปาระเบิดนั้น ผู้ก่อเหตุใช้ระเบิดชนิดสังหาร ซึ่งสังเกตได้จากการพบกระเดื่องระเบิดทั้ง 2 จุด ขณะเดียวกัน มีพยาน 2 คน ที่เห็นเหตุการณ์อย่างชัดเจน". ไทยพีบีเอส. 19 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "กปปส.ยุบเวทีลาดพร้าว-อนุสาวรีย์ชัยฯ หลังถูกป่วนหนัก-แจงผู้ชุมนุมยิงปืนสั้นเพื่อป้องกันตัว". ผู้จัดการออนไลน์. 2 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พ่อตัวอย่างแนะเลี้ยงลูกตามยุคสมัย ความภูมิใจของพ่อคือ ลูกเป็นคนดี". ไทยรัฐ. 8 ธันวาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "อย่าพลาด !! ศึกมวยไทยTnews 25 เม.ย.นี้ ณ เวทีมีนบุรีสปอร์ต 1 ทุ่มเป็นต้นไป". ทีนิวส์. 23 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ศึกยอดมวยไทยมหากุศลสมุยเฟสติวัลจัดกระหึ่มสุดยิ่งใหญ่". สยามสปอร์ต. 18 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/B/008/15.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ก่อนหน้า | ถาวร เสนเนียม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร | ![]() |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 62) (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน) |
![]() |
"อยู่ในวาระ" |
ประสงค์ โฆษิตานนท์ | ![]() |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 59) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
![]() |
บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ |
- CS1 errors: invisible characters
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสงขลา
- นักกฎหมายชาวไทย
- ข้าราชการฝ่ายอัยการชาวไทย
- โปรโมเตอร์มวยชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
- พรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- บุคคลจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน