ประพาส ลิมปะพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ร้อยตรี
ประพาส ลิมปะพันธุ์
ม.ป.ช., ม.ว.ม.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2554 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ก่อนหน้า ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
(ประเชิญ ติยะปัญจนิตย์) รักษาการ
ถัดไป ประเสริฐ บุญชัยสุข
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2478 (87 ปี)
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
พรรค ชาติพัฒนา
คู่สมรส วันเพ็ญ ลิมปะพันธุ์
ลายมือชื่อ ประพาส ลิมปะพันธุ์ ภาษาอังกฤษ.png

ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และเป็นอดีตเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา

ประวัติ[แก้]

ประพาส ลิมปะพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2478 ที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรของนายเพ่ง ลิมปะพันธุ์ กับนางปราย ลิมปะพันธุ์ สำเร็จชั้นระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวรรควิทยา (โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ในปัจจุบัน) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขากสิกรรมและสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Training Marketing at DACA (Japan) Training Of TOP Management at Perth University Australia [1]

ร้อยตรีประพาส สมรสกับนางวันเพ็ญ ลิมปะพันธุ์ มีบุตร 5 คน คือ ปิยะวดี ลิมปะพันธุ์ ปิยะชนก ลิมปะพันธุ์ ปิยะกมล ลิมปะพันธุ์ ปิยะหทัย ลิมปะพันธุ์ และปิยะวัช ลิมปะพันธุ์[2]

การทำงาน[แก้]

ประพาส ลิมปะพันธุ์ เคยรับราชการเป็นทหารบก และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42)[3] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม.43-45)[4][5] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย เมื่อปี พ.ศ. 2537 (ชวน 1)

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน[6] ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา (เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน) แทนนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ที่ลาออกจากพรรคไปร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนา

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา ลำดับที่ 4[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ประพาส ลิมปะพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน[ลิงก์เสีย]จาก ป.ป.ช.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน)
  7. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติพัฒนา)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
ก่อนหน้า ประพาส ลิมปะพันธุ์ ถัดไป
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
(ประเชิญ ติยะปัญจนิตย์) รักษาการ
2leftarrow.png CPN logo2.jpg
เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
(18 กันยายน พ.ศ. 2554 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
2rightarrow.png ประเสริฐ บุญชัยสุข