หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
Rachadapisek Sonakul.jpg
ชายาหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์
พระบุตรหม่อมราชวงศ์ปรียา โสณกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระมารดาหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
ประสูติ16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435
สิ้นชีพิตักษัย5 กันยายน พ.ศ. 2492 (57 ปี)

ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 — 5 กันยายน พ.ศ. 2492) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา

พระประวัติ[แก้]

ในปีที่หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก ประสูตินั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี[1] จึงมีเจ้านายทูลขอพระราชทานพระนาม ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานพระนาม "รัชฎาภิเศก" สำหรับพระโอรส-ธิดาพระองค์อื่นที่ได้รับพระราชทานพระนามพร้อมกัน คือ หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล และหม่อมเจ้ารัชลาภจีระฐิต[1]

หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากโรงเรียนเอาน์เดิล ประเทศอังกฤษ แล้วทรงศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยซิตีแอนด์กิลด์ มหาวิทยาลัยลอนดอน จนสำเร็จการศึกษาระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์จาก ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ทรงรับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย อธิบดีกรมอาชีวะศึกษา[2] อธิบดีกรมศึกษาธิการ[3] อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] กรรมการอำนวยการคุรุสภา ศาสตราจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศาสตราจารย์องค์แรกของประเทศไทย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างปี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2488 และ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปี พ.ศ.2488 - พ.ศ. 2489

หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2492 สิริชันษา 57 ปี

พระยศ[แก้]

  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2466 รองอำมาตย์เอก[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย. กรุงเทพฯ:ดีเอ็มจี. 2551, หน้า 188
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/014/356_1.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/1409.PDF
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 กันยายน 2489.
  5. พระราชทานยศ
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 49 เล่ม 60 วันที่ 18 กันยายน 2486
ก่อนหน้า หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล ถัดไป
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม 2leftarrow.png Phra Kiao Colored.svg
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(1 กันยายน พ.ศ. 2487 - 5 กันยายน พ.ศ. 2492)
2rightarrow.png จอมพล แปลก พิบูลสงคราม