สิดดิก สารีฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิดดิก สารีฟ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 เมษายน พ.ศ. 2472
อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
เสียชีวิต19 มีนาคม พ.ศ. 2534 (61 ปี)
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2518—2526)
ชาติประชาธิปไตย (2526—2534)
คู่สมรสนางประคอง สารีฟ

สิดดิก สารีฟ (7 เมษายน พ.ศ. 2472 - 19 มีนาคม พ.ศ. 2534) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 2 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ[แก้]

สิดดิก สารีฟ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2472 เป็นบุตรของนายสารีฟ ฮุสเซ็น ชาวอินโดนีเซีย กับ นางยารียะห์ [1] สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ ระดับวิชาชีพจากโรงเรียนสากลการบัญชี[2] สมรสกับนางประคอง สารีฟ

สิดดิก สารีฟ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2534 สิริอายุ 61 ปี

การทำงาน[แก้]

สิดดิก ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[4] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย [5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สิดดิก สารีฟ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดนราธิวาส สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ‘สิดดิก สารีฟ’ เส้นทางการเมือง จาก ‘กบฏ’สู่ ‘เสนาบดี’[ลิงก์เสีย]
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดนราธิวาส. รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2558
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  5. ‘สิดดิก สารีฟ’ เส้นทางการเมือง จาก ‘กบฏ’สู่ ‘เสนาบดี’ (จบ)[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๘๓, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙