ประภัตร โพธสุธน
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ประภัตร โพธสุธน ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน – 9 พฤศจิกายน 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ปองพล อดิเรกสาร |
ถัดไป | ชูชีพ หาญสวัสดิ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | วิวัฒน์ ศัลยกำธร |
เลขาธิการพรรคชาติไทยพัฒนา | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม 2561 | |
ก่อนหน้า | พันธุ์เทพ สุลีสถิร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2492 (71 ปี) จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา |
ศาสนา | พุทธ |
ประภัตร โพธสุธน (เกิด 1 สิงหาคม 2492) เลขาธิการพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตเลขาธิการพรรคชาติไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการในหลายกระทรวง หลายสมัย
ประวัติ[แก้]
นายประภัตร เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 2492 เป็นชาวอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยกำเนิด สถานภาพปัจจุบันยังโสด บ้านพักส่วนตัวที่อำเภอศรีประจันต์ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงวัฒนธรรมชาวนาไทย และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี คือ พิพิธภัณฑ์ควายไทย
ประวัติการศึกษา[แก้]
จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์บัณฑิต จากประเทศอินเดีย และระดับปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประวัติการทำงาน[แก้]
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518, 2519, 2522, 2526, 2529,2531,2535/1,2535/2,2538,2539,2544,2562
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2562
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2543
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2540
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2529 และ 2538
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2535[1]
- ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2518 และ 2519
ในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2536 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ภ.) [3]
- พ.ศ. 2530 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.) [4]
- พ.ศ. 2529 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2528 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2526 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2524 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2522 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2518 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร “พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ” ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา รวมทั้งสิ้น ๓,๑๙๒ ราย เล่ม ๑๑๐ ตอน ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (๕ ธันวาคม ๒๕๓๐) เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ หน้า ๑
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com
- พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ท่าน)
- พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร นายสนธยา คุณปลื้ม นายประภัตร โพธสุธน นายจองชัย เที่ยงธรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี)(และแต่งตั้งนายบัญญัติ บรรทัดฐาน พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาร์อินทร์ นายประภัตร โพธสุธน นายจองชัย เที่ยงธรรม นายสนธยา คุณปลื้ม นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์)
- พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.