สมหมาย ฮุนตระกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมหมาย ฮุนตระกูล
ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
ก่อนหน้า บุญมา วงศ์สวรรค์
ถัดไป เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ดำรงตำแหน่ง
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2523
ก่อนหน้า พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ถัดไป อำนวย วีรวรรณ
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ก่อนหน้า อำนวย วีรวรรณ
ถัดไป สุธี สิงห์เสน่ห์
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2529
ถัดไป สุธี สิงห์เสน่ห์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2461
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต 30 มิถุนายน พ.ศ. 2536 (75 ปี)
คู่สมรส คุณหญิงสมศรี ฮุนตระกูล

สมหมาย ฮุนตระกูล (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2536) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ และอดีตผู้ว่าการการไฟฟ้ายันฮี และอดีตกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2536 อายุ 75 ปี

ประวัติ[แก้]

นายสมหมาย ฮุนตระกูล เกิดที่บ้านถนนสี่พระยา เขตบางรัก เป็นบุตรของนายโกศล และนางน้อม ฮุนตระกูล เป็นบุตรคนที่ 6 ในพี่น้อง 9 คน เมื่อจบชั้นมัธยมแล้วได้มีความคิดที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ เนื่องจากญาติพี่น้องทั้งพี่ชายสองคน และอาๆ ต่างเป็นนักเรียนจากประเทศอังกฤษทั้งสิ้น แต่เนื่องจากขณะนั้นเกิดเศรษฐกิจตกต่ำ จึงได้ตัดสินใจไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า โดยตั้งใจจะไปเรียนโรงเรียนนายร้อยทหารบก เพื่อกลับมารับราชการทหาร โดยเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นโดยอาศัยไปกับเรือสินค้า และไปพักอาศัยอยู่กับครอบครัวชาวญี่ปุ่น และตัดสินใจเปลี่ยนไปเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์

นายสมหมาย ฮุนตระกูล สมรสกับคุณหญิงสมศรี ฮุนตระกูล (สกุลเดิม เปรมะบุตร) บุตรีหลวงสุภากรกิตย์ และนางหงษ์ สุภากรกิตย์ เมื่อ พ.ศ. 2487 มีบุตรธิดา 4 คน คือ

  • บัณฑิตย์ ฮุนตระกูล
  • ศศิณี ฮุนตระกูล
  • แพทย์หญิงภัทนี ฮุนตระกูล
  • สมภพ ฮุนตระกูล

การศึกษา[แก้]

การทำงาน[แก้]

ผลงานที่สำคัญที่สุด คือการลดค่าเงินบาท เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ถึง 14.8% จาก 23 บาท เป็น 27 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

สมหมาย ฮุนตระกูล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  • สมศรี ฮุนตระกูล. ฯพณฯ สมหมาย ฮุนตระกูล, หนังสือที่ระลึกพิธีพระราชทานเพลิงศพ ศาลาปัณณรสภาค วัดเบญจมบพิตร. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], 2536. 336 หน้า.
ก่อนหน้า สมหมาย ฮุนตระกูล ถัดไป
บุญมา วงศ์สวรรค์ 2leftarrow.png Seal of the Ministry of Finance (Thailand).png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.34)
(27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518)
2rightarrow.png เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2leftarrow.png Seal of the Ministry of Finance (Thailand).png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.41)
(11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2523)
2rightarrow.png อำนวย วีรวรรณ
อำนวย วีรวรรณ 2leftarrow.png Seal of the Ministry of Finance (Thailand).png
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ครม.42, ครม.43)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2524 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
2rightarrow.png สุธี สิงห์เสน่ห์