ทอง กันทาธรรม
ทอง กันทาธรรม | |
---|---|
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม – 17 กันยายน พ.ศ. 2488 | |
นายกรัฐมนตรี | ทวี บุณยเกตุ |
ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 เมษายน พ.ศ. 2454 อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ |
เสียชีวิต | 17 กันยายน พ.ศ. 2526 (72 ปี) |
พรรคการเมือง | ชาตินิยม |
ทอง กันทาธรรม เป็นอดีตรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ 5 สมัย สังกัดพรรคชาตินิยม และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคชาตินิยมที่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 อดีตหัวหน้าเสรีไทยสายแพร่[1][2][3]
ประวัติ
[แก้]ทอง กันทาธรรม หรือเป็นที่รู้จักว่า ''พ่อเลี้ยงทอง'' เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2454 ที่อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่[4] เป็นบุตรชายคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของนายเทพ กันทาธรรม กับนางศรีเวย กันทาธรรม บิดามีเชื้อสายเจ้านายของเมืองเชียงแสน ส่วนมารดาสืบเชื้อสายจากเจ้านายของพวกไทลื้อ มีพี่ชายเติบโตมาด้วยกันคือ นายอุทัย หรือพ่อเลี้ยงอุทัย กันทาธรรม และน้องชายคือ นายสม หรือพ่อเลี้ยงสม กันทาธรรม เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ต่อมาย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จนถึงชั้นมัธยมปีที่ 7 จากนั้นจึงย้ายเข้าไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[3]
การทำงาน
[แก้]รับราชการ
[แก้]เมื่อปี พ.ศ. 2477 ทอง กันทาธรรม เข้าทำงานประจำที่แผนกตรวจสอบเรื่องและความเห็น สำนักงานเลขานุการคณะรัฐมนตรี จากนั้นย้ายไปประจำที่แผนสัญญาทางพระราชไมตรี กองการต่างประเทศ กรมมหาดไทย กระทั่งในปี พ.ศ. 2479 ได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ทำงานได้เพียง 9 เดือน ก็ลาออกจากราชการเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[3]
ฝ่ายนิติบัญญัติ
[แก้]ทอง กันทาธรรม เป็นนักการเมืองชาวจังหวัดแพร่ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง ต่อมาได้เข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคสหชีพ[5]
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาตินิยม ซึ่งในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500 เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคชาตินิยมที่ได้รับเลือกตั้ง
ทอง กันทาธรรม เคยตั้งกระทู้ถามกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับอำนาจในการออกหมายค้น เมื่อปี พ.ศ. 2482[6]
ฝ่ายบริหาร
[แก้]ทอง กันทาธรรม ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นาวาเอก บุง ศุภชลาศัย) ในปี พ.ศ. 2487[3] และเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวงในปี พ.ศ. 2488 ในรัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ[7] และรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[8] และในรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ยศขณะนั้น)[9] และในปี พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[10][11]
การต่อสู้ทางการเมือง
[แก้]ทอง กันทาธรรม ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎจากรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 ภายใต้การนำของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ และเขาต้องรับโทษจำคุกถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเป็นเวลา 100 วัน ครั้งที่สองเป็นเวลากว่า 2 เดือน และครั้งที่สามเป็นเวลา 20 วัน กระทั่งเกิดเหตุการณ์สังหารรัฐมนตรีที่เคยร่วมงานกับขบวนการเสรีไทย คือ ถวิล อุดล ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ จำลอง ดาวเรือง และทองเปลว ชลภูมิ ส่งผลให้นายทอง กันทาธรรม ต้องลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองยองห้วย เขตเชียงตุง ประเทศพม่า จนเหตุการณ์คลี่คลายขึ้น นายทอง กันทาธรรม จึงกลับมาสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พิพิธภัณฑ์เสรีไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ "รักชาติแรงกล้านายทอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-25. สืบค้นเมื่อ 2018-07-16.
- ↑ [1]
- ↑ กระทู้ถามที่ ๒๖๒/๒๔๘๑ ของนายทอง กันทาธรรม ผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เรื่อง การออกหมายค้น
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (นายทอง กันทาธรรม)
- ↑ "ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-07-14.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2454
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2526
- นักการเมืองจากจังหวัดแพร่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ทนายความชาวไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- พรรคสหชีพ
- พรรคชาตินิยม (ประเทศไทย)
- บุคคลจากโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง