วิโรจน์ เปาอินทร์
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ., ต.จ.ว. | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
ถัดไป | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 (87 ปี) จังหวัดอ่างทอง ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2535 - 2539) ชาติไทย (2539 - ?) เพื่อไทย (2554 - ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วินิจ เปาอินทร์ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1] อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอ่างทอง พรรคชาติไทย และอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายเซ้ง กับนางกี เปาอินทร์ [2] และเป็นอดีตสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่[3]
พล.ต.ท.วิโรจน์ สมรสกับนางวินิจ เปาอินทร์ ผู้พิพากษาสมทบ ศาลเด็กจังหวัดพระนครศรีอยุธยา[4]
งานการเมือง[แก้]
พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอ่างทอง เคยสังกัดพรรคประชากรไทย และพรรคชาติไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)[5] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 2 สมัย คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[6] และเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2543 แต่ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ กลับพ่ายการเลือกตั้งให้กับนางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ไชย ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ได้ร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของรัฐสภา[7] ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[8] จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 17 ของพรรคเพื่อไทยด้วย[9]พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ได้ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร โดยดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการคนที่ 4 ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งจากกรรมการบริหารพรรคให้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[10] แทนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 119[11]
วิโรจน์ เปาอินทร์ ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี ส.ส. ไม่ปฏิบัติตามมติพรรคร่วมฝ่ายค้านของพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2539 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
- พ.ศ. 2535 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[13]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 'จารุพงษ์'ผงาดนั่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ http://samrae.metro.police.go.th/history1.html
- ↑ บัญชีแสดงรายการรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 (เป็นปฏิวัติโดยแท้ เรื่อง ให้อายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ คำสั่งรัฐสภา แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
- ↑ รายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย
- ↑ เพื่อไทยตั้ง “วิโรจน์ เปาอินทร์” นั่งรักษาการ หน.พรรค นัดประชุมเลือกตัวจริง 30 ต.ค.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๕๒๔ ราย)เล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 109 ตอนที่ 59 วันที่ 5 พฤษภาคม 2535
ก่อนหน้า | วิโรจน์ เปาอินทร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุขวิช รังสิตพล อำนวย วีรวรรณ กร ทัพพะรังสี มนตรี พงษ์พานิช สมัคร สุนทรเวช ทักษิณ ชินวัตร วีรพงษ์ รามางกูร สุวิทย์ คุณกิตติ |
![]() |
![]() รองนายกรัฐมนตรี (11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543) |
![]() |
ชวลิต ยงใจยุทธ สุวิทย์ คุณกิตติ เดช บุญ-หลง ปองพล อดิเรกสาร พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กร ทัพพะรังสี จาตุรนต์ ฉายแสง |
ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค |
![]() |
![]() รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555) |
![]() |
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค |
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ในตำแหน่ง หัวหน้าพรรค |
![]() |
![]() รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
![]() |
ปลอดประสพ สุรัสวดี |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอ่างทอง
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคประชากรไทย
- พรรคชาติไทย
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา