ข้ามไปเนื้อหา

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าศิริ จิระพงษ์พันธ์
ถัดไปสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 29 มกราคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอภิรดี ตันตราภรณ์
ถัดไปจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสุวิทย์ เมษินทรีย์
ถัดไปชุติมา บุณยประภัศร
เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2561 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ถัดไปอนุชา นาคาศัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561–2563, 2566–ปัจจุบัน)
สร้างอนาคตไทย (2565–2566)
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2503) หัวหน้าศูนย์นโยบายและวิชาการของพรรคพลังประชารัฐ[2] และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[3] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ กรรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อรรชกา สีบุญเรือง) และเป็นอดีตประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย[4]

ประวัติ

[แก้]

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ (สกุลเดิม: รุ่งโรจน์วณิชย์) เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2503 ที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย (เดิมเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาญจนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวัสดุศาสตร์ และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

[แก้]

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นนักธุรกิจ เคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต่อมาเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อรรชกา สีบุญเรือง) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559[5] ต่อมาเขาได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ[6] รวมทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลาต่อมา[7]

ในปี 2565 เขาได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย[8] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาและอุตตม สาวนายน ได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ‘พปชร.’ พร้อมหวด ’รัฐบาล‘ ตั้ง ศูนย์นโยบายฯ ทำหน้าที่ตรวจสอบ แทน ปชช.
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก". ราชกิจจานุเบกษา. 5 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "คิกออฟ "สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย" รวมพลังส่องสปอร์ตไลท์ให้รัฐหนุนตรงเป้า". ผู้จัดการออนไลน์. 29 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. พลังประชารัฐ : กลุ่ม "4 กุมาร" ลาออกจากสมาชิก พปชร. แต่ยังไม่ทิ้งเก้าอี้ รมต. ไม่คิดตั้งพรรคใหม่
  7. ปรับ ครม. ประยุทธ์ 2/2 : สมคิด กับ “4 กุมาร” อ้าง “จากกันด้วยดี” หลังยื่นใบลาออกจาก ครม. มีผลทันที 16 ก.ค.
  8. พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตมเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ประกาศดึงสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ
  9. "บิ๊กปัอม" เปิดตัว "อุตตม-สนธิรัตน์-พล.อ.วิชญ์" กลับพลังประชารัฐ วางตัวช่วยด้านเศรษฐกิจ
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฏไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๙๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
ก่อนหน้า สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ถัดไป
ศิริ จิระพงษ์พันธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(10 กรกฎาคม 2562 – 15 กรกฎาคม 2563)
วิษณุ เครืองาม
(รักษาการ)
อภิรดี ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(23 พฤศจิกายน 2560 – 29 มกราคม 2562)
ชุติมา บุณยประภัศร
(รักษาการ)