พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)
ศาสตราจารย์ พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน 2488 – 31 มกราคม 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ทวี บุณยเกตุ |
ถัดไป | พระยาอัชราชทรงสิริ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ – 8 เมษายน 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | พระมนูภาณวิมลศาสตร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2438 จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 (81 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณหญิงพร้อมเพรา อรรถการีย์นิพนธ์ |
บุตร | 8 คน |
ยศเดิม | อำมาตย์เอก |
ศาสตราจารย์ พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ หรือ สิทธิ จุณณานนท์ (ชื่อเดิม สุทธิ จุณณานนท์) (29 มิถุนายน 2438 - 27 มิถุนายน 2520) เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ ในสมัยรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 อดีตอธิบดีกรมอัยการ ในปี พ.ศ. 2484 และเป็นสมาชิกเสรีไทย
ประวัติ
[แก้]สิทธิ จุณณานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2438 ที่ตำบลวัดทอง คลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของนายใต้เพ็ง และนางสุ่น จุณณานนท์ และได้สมรสกับคุณหญิงพร้อมเพรา อรรถการีย์นิพนธ์ มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ
- นางศิริโฉม สมานนท์
- นางจิรดา โพธิ
- นายแพทย์นิพนธ์ จุณณานนท์
- นายวิฑูร จุณณานนท์
- นายวิสุทธิ์ จุณณานนท์
- นายอรรถ จุณณานนท์
- นายบดี จุณณานนท์
- นางศุภนิตย์ จุณณานนท์
พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ ในปี พ.ศ. 2455 และในปี พ.ศ. 2456 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตในปี พ.ศ. 2460 โดยสุทธิ จุณณานนท์เริ่มรับราชการในกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ด้วยอายุ 19 ปี [1]
พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ด้วยวัย 81 ปี 364 วัน
ประวัติการทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2484 เป็นอธิบดีกรมอัยการ
- พ.ศ. 2488 เป็นรัฐมนตรี[2]
- พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2489 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ[3] และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (นายกสภามหาวิทยาลัยลำดับที่ 3)
- พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2506 เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโอนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2500, พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[4][5][6]
บรรดาศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2462 เป็นรองอำมาตย์เอก[7]
- พ.ศ. 2463 เป็นอำมาตย์ตรี
- พ.ศ. 2463 เป็นหลวงอรรถการีย์นิพนธ์
- พ.ศ. 2466 เป็นอำมาตย์โท
- พ.ศ. 2469 เป็นพระอรรถการีย์นิพนธ์
- พ.ศ. 2471 เป็นอำมาตย์เอก
- พ.ศ. 2473 เป็นพระยาอรรถการีย์นิพนธ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[11]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[12]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[13]
- พ.ศ. 2483 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
บรรณานุกรม
[แก้]- ธานินทร์ กรัยวิเชียร. นักกฎหมายในอุดมคติ. กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภาในพระบรม-ราชูปถัมภ์, 2546.
- คณะผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่น 22. “ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม”, ดุลพาท. 29, 3 (พฤษภาคม – มิถุนายน 2525) หน้า 55 – 59.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) ณ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2521.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
- ↑ นักเรียนเก่า ที่มีชื่อเสียง พระยาอรรถการีย์นิพนธ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๑, ๗ มกราคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๓๖, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๙๖ ง หน้า ๒๓๖๓, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๔๙, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๕, ๗ ตุลาคม ๒๔๘๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2438
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2520
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- ปลัดกระทรวงมหาดไทยไทย
- นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากเขตบางกอกน้อย
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง