โกศล ไกรฤกษ์
โกศล ไกรฤกษ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 15 มกราคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 เมษายน พ.ศ. 2469 กรุงเทพมหานคร |
เสียชีวิต | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 (78 ปี) |
คู่สมรส | นางประดับ ไกรฤกษ์ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
นายโกศล ไกรฤกษ์ (10 เมษายน พ.ศ. 2469 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก 5 สมัย และ อดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม กับ พรรคประชากรไทย
ประวัติ[แก้]
โกศล ไกรฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2469 เป็นบุตรชายของร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์ กับนางสำนึง (อมาตยกุล)ไกรฤกษ์ [1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และ เตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งต่อมาได้เข้าเรียนต่อ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่จบการศึกษา
โกศล สมรสกับ นางประดับ ไกรฤกษ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ นางสาวดวงตา ไกรฤกษ์ นางสาวพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพิษณุโลก และ นายจุติ ไกรฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
โกศล ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการจัดการธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
โกศล ไกรฤกษ์ เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานและโรคไต เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 สิริอายุรวม 78 ปี[2]
การทำงาน[แก้]
โกศลมีอาชีพเป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงเจ้าของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตะวันออกไฟแนนซ์ ที่ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
งานการเมือง[แก้]
โกศล ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 5 สมัย [3]
โกศล ไกรฤกษ์ ได้รับตำแหน่งทางการเมืองสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[4] (พ.ศ. 2523) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2524)[5] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[6] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[7] เมื่อปี พ.ศ. 2526 และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2533[8], เป็นต้น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
โกศล ไกรฤกษ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคอิสระ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคประชากรไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2526 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2525 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2523 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีพุทธศักราช 2538 มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดพิษณุโลก. สถาบันพระปกเกล้า. 2549
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี (พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ และนายตามใจ ขำภโต พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี นายโกศล ไกรฤกษ์ และนายวิศิษฐ์ ตันสัจจา พ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีใหม่)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย) เล่ม ๑๐๐ ตอน ๒๐๗ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖ เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2469
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2547
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากจังหวัดพิษณุโลก
- สกุลไกรฤกษ์
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
- พรรคอิสระ (พ.ศ. 2512)
- พรรคกิจสังคม
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคประชากรไทย
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคพลังธรรม
- พรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน
- เสียชีวิตจากโรคไต