สินิตย์ เลิศไกร
สินิตย์ เลิศไกร | |
---|---|
![]() สินิตย์ ในปี พ.ศ. 2564 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (2 ปี 163 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการ | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ |
ก่อนหน้า | วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล |
ถัดไป | นภินทร ศรีสรรพางค์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (22 ปี 73 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2507 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2543–ปัจจุบัน) |
คู่อาศัย | เยาวลักษณ์ จันทร์หุ่น |
สินิตย์ เลิศไกร (เกิด 6 ธันวาคม พ.ศ. 2507) หรือที่คนในพื้นที่เรียกว่า สส. ดำ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 5 สมัย
ประวัติ
[แก้]สินิตย์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ที่ตำบลไทรโสภา อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรนายน่วม นางแอ่น เลิศไกร[1]
สำเร็จการศึกษาประถมศึกษาจากโรงเรียนพระแสงวิทยา ชั้นประโยคมัธยมศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย) ระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการเกษตร จากวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[2]
การทำงาน
[แก้]สินิตย์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องมาในปี 2548, 2550, 2554
สินิตย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 และต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[3] ต่อในปี 2564 เมื่อนายถาวร เสนเนียม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากคำพิพากษาของศาล ส่งผลให้นายสินิตย์ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา [4]
เป็นนักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ในกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากบัญญัติ บรรทัดฐาน[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รู้จัก ว่าที่ รมช. 'สินิตย์ เลิศไกร' ปิดดีล 'สุราษฎร์' คอนเนคชั่น
- ↑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ “สินิตย์” ปชป.เขต 5 สุราษฎร์ฯ มั่นใจเสียงตอบรับ
- ↑ เปิดประวัติ‘สินิตย์ เลิศไกร’รัฐมนตรีป้ายแดงก.พาณิชย์ ส.ส.5 สมัยสุราษฎร์
- ↑ หอยใหญ่ต้องมี "สินิตย์" ต้องได้ เสียงจาก "โกหยัด"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | สินิตย์ เลิศไกร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล | ![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิขย์ (ครม. 62) (22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
![]() |
นภินทร ศรีสรรพางค์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.