ข้ามไปเนื้อหา

บัญญัติ บรรทัดฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัญญัติ บรรทัดฐาน
บัญญัติ ในปี พ.ศ. 2553
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544
(23 ปี 320 วัน)
แบบสัดส่วน
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
(3 ปี 138 วัน)
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(0 ปี 312 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
(2 ปี 292 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(0 ปี 212 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสนั่น ขจรประศาสน์
ถัดไปปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
(1 ปี 357 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าเล็ก นานา
ถัดไปประจวบ ไชยสาส์น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
(3 ปี 90 วัน)
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(1 ปี 227 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าชวน หลีกภัย
ถัดไปอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดำรงตำแหน่ง
26 มกราคม พ.ศ. 2518 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
(25 ปี 287 วัน)
ก่อนหน้าสงวน กนกวิจิตร
ถัดไปโกเมศ ขวัญเมือง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2546 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2548
(1 ปี 319 วัน)
ก่อนหน้าชวน หลีกภัย
ถัดไปอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เก้าแซ่ แซ่ลิ้ม

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2514–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสมนึก บุญชู (หย่า)
จิตติมา สังขะทรัพย์ (ปัจจุบัน)

นายกองใหญ่ บัญญัติ บรรทัดฐาน ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตประธานกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

[แก้]

บัญญัติเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2485[2] ที่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมชื่อ "เก้าแซ่ แซ่ลิ้ม" เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนไหหลำ มีภรรยาคือ จิตติมา สังขะทรัพย์ และบุตรชาย 1 คน คือ ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน

บัญญัติสูญเสียมารดาไปตั้งแต่ยังเด็ก ๆ โดยมีพี่สาวเป็นผู้เลี้ยงดู[3][4] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี และโรงเรียนอำนวยศิลป์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วรับราชการเป็นวิทยากร สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ในปี พ.ศ. 2513 ต่อมา เข้าสู่วงการเมืองเป็น ส.ส. หลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในหลายกระทรวง

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

[แก้]
  • เป็น ส.ส. ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 15 สมัย ในปี พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2526, พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 1/2), พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554, พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2566 โดยเป็น ส.ส. ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมาโดยตลอด ยกเว้นในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมาที่เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และ ส.ส.สัดส่วน
  • รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ปี พ.ศ. 2519
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2519
  • โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2523
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[5][6] ปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2526
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2529[7]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2533
  • รองนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2535-พ.ศ. 2538[8]
  • รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2543
  • หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548

บทบาททางการเมือง

[แก้]

บัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปี พ.ศ. 2546 จึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเดือนเมษายนตามการเลือกของสมาชิกพรรค หลังจากชวน หลีกภัย หมดวาระไป และไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งต่อ บัญญัติ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 เมื่อพรรคไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งบัญญัติได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ถ้าพรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้งจะขอลาออก[9]

ได้รับฉายาว่า "บัญญัติ 10 ประการ" เนื่องจากมักพูดหรือให้สัมภาษณ์ติดคำว่า "ประการ" และ "ประการต่อไป"

นายบัญญัติมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้คดียุบพรรค โดยได้ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานคณะทำงานเตรียมสำนวนคดี และสามารถนำพาพรรครอดพ้นคดียุบพรรคได้สำเร็จ ในขณะที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ถูกศาลวินิจฉัยให้ยุบพรรค

ปัจจุบันบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ในปี พ.ศ. 2562 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้ง[10] และได้รับการกล่าวถึงทางสื่อมวลชนว่าเป็นหนึ่งในรายชื่อผู้ที่จะถูกเสนอชื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติเสนอชื่อ ชวน หลีกภัย

สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 บัญญติได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 3 ในฐานะ อดีตหัวหน้าพรรค รองจาก จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และ ชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรค[11]

ยศกองอาสารักษาดินแดนชั้นสัญญาบัตร

[แก้]
  • นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็น "รองผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน" โดยตำแหน่ง
  • นายกองใหญ่ กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็น "ผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน" โดยตำแหน่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  2. "สายล่อฟ้า 07 09 59". สายล่อฟ้า. September 7, 2016. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.
  3. "อาสาฯประชาชน 12 08 56 เบรก1". บลูสกายแชนแนล. August 11, 2013. สืบค้นเมื่อ August 12, 2013.
  4. "อาสาฯประชาชน 12 08 56 เบรก2". บลูสกายแชนแนล. August 11, 2013. สืบค้นเมื่อ August 12, 2013.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย) เล่ม 109 ตอนที่ 103 วันที่ 29 กันยายน 2535
  9. ""บัญญัติ"ยึดสัจจะ-โชว์สปิริตไขก๊อกพ้น ปชป.!". ผู้จัดการออนไลน์. February 13, 2005. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.[ลิงก์เสีย]
  10. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2019-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  11. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า บัญญัติ บรรทัดฐาน ถัดไป
เภา สารสิน
เกษม สุวรรณกุล
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 50)
(23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
สมบุญ ระหงษ์
ชวลิต ยงใจยุทธ
ทักษิณ ชินวัตร
บุญพันธ์ แขวัฒนะ
สมัคร สุนทรเวช
อำนวย วีรวรรณ
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี
มนตรี พงษ์พานิช
สนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(11 เมษายน พ.ศ. 2543 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543)
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ดำรง ลัทธพิพัฒน์
(รัฐมนตรี)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
(29 กรกฎาคม – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2528)
เล็ก นานา
(รัฐมนตรี)
เล็ก นานา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
(11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
ประจวบ ไชยสาส์น
ชวน หลีกภัย
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(20 เมษายน พ.ศ. 2546 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2548)
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ชวน หลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย
(23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548)
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ