เสริม ณ นคร
เสริม ณ นคร | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ |
ก่อนหน้า | สมภพ โหตระกิตย์ |
ถัดไป | เล็ก แนวมาลี |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | ประมาณ อดิเรกสาร |
ถัดไป | ถนัด คอมันตร์ |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 30 กันยายน พ.ศ. 2524 | |
ก่อนหน้า | เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ |
ถัดไป | สายหยุด เกิดผล |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519 | |
ก่อนหน้า | บุญชัย บำรุงพงศ์ |
ถัดไป | เปรม ติณสูลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มีนาคม พ.ศ. 2464 จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (88 ปี) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล |
คู่สมรส | คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
การเข้าเป็นทหาร | |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้อำนวยการรักษาพระนคร [1]และอดีตรองนายกรัฐมนตรี เจ้าของฉายา "นายพลแก้มแดง"
ประวัติ[แก้]
พล.อ.เสริม ณ นคร เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2464 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันโทชุบ และนางละมุน ณ นคร จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เข้ารับราชการครั้งแรกเป็นผู้บังคับหมวดกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4 จากนั้นจึงเลื่อนขั้นและยศตามลำดับ อาทิ เสนาธิการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารบก [2] และผู้บัญชาการทหารสูงสุด [3] โดยได้รับพระราชทานยศ พลเอก[4] พลเรือเอก และพลอากาศเอก นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิกุลโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นองครักษ์เวร และตุลาการศาลทหารสูงสุด ทั้งยังเคยปฏิบัติราชการพิเศษ อาทิ ราชการสนามกรณีพิพาทอินโดจีน, สงครามมหาเอเชียบูรพา, สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม จนได้รับเหรียญเดอะลีเจียนออฟเมอริท จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นระหว่างดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนาม
พล.อ.เสริม นับได้ว่าเป็นผู้พัฒนากองทัพบกทุกด้านในพื้นฐานนโยบายแห่งชาติ โดยเสริมสร้างกำลังรบให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดจัดตั้งกองกำลังทหารพรานเป็นกำลังสำรองเพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้ป้องกันการก่อการร้าย
ด้านครอบครัว สมรสกับ คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร มีธิดา 2 คน
พล.อ.เสริม ณ นคร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เนื่องจากติดเชื้อในกระแสโลหิตจากโรคมะเร็ง สิริอายุได้ 89 ปี มีการสวดพระอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม และงานพระราชทานเพลิงศพมีขึ้น ณ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธี
งานการเมือง[แก้]
ในด้านการเมืองเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (คณะรัฐบาลชุดที่ 41)[5] และในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (คณะรัฐมนตรีชุดที่ 42)[6] อีกทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520, ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการรักษาพระนครในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520
เหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน-3 เมษายน พ.ศ. 2524 และเหตุการณ์กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยเฉพาะในเหตุการณ์กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ได้ถูกคณะผู้ก่อการประกาศชื่อให้เป็นหัวหน้าด้วย
พล.อ.เสริม เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2518 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2510 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2518 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[10]
- พ.ศ. 2484 -
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
- พ.ศ. 2496 -
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[11]
- พ.ศ. 2504 -
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2515 -
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2518 -
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 1 (ส.ช.)[13]
- พ.ศ. 2516 -
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[14]
- พ.ศ. 2496 -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2507 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2520/A/098/22.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 115 ง หน้า 2634 28 กันยายน พ.ศ. 2519
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอน 106 ง หน้า 1 1ตุลาคม พ.ศ. 2521
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/218/1.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖ เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙ เล่ม ๘๔ ตอน ๑๒๘, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒ เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๑๘๙๗ เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๒๗, ๒๘ เมษายน ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ฉบับพิเศษ หน้า ๒ เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๖ข, ๒๘ เมษายน ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ฉบับพิเศษ หน้า ๑ เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๑๐, ๑๒ มิถุนายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘ เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๒๘, ๘ ตุลาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๒๓๓๗ เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ข่าวในพระราชสำนัก ประจำวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553
|
|
|
|
- สมาชิกเหรียญชัยสมรภูมิ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552
- เสียชีวิตจากมะเร็ง
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดราชบพิธ
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- สกุล ณ นคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3