สายหยุด เกิดผล
สายหยุด เกิดผล | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 – 30 กันยายน พ.ศ. 2526 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก เสริม ณ นคร |
ถัดไป | พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มีนาคม พ.ศ. 2466 จังหวัดสุโขทัย ประเทศสยาม |
คู่สมรส | คุณหญิงอุไรวรรณ เกิดผล |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองบัญชาการทหารสูงสุด |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการทหารสูงสุด |
พลเอก สายหยุด เกิดผล (เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2466) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตสมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันเป็นรองประธานมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย และประธานเครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง (พีเน็ต)[1] และเป็นบิดาของพล.อ. อักษรา เกิดผล หรือ บิ๊กโบ้ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. สายหยุด เกิดผล มีเชื้อสายไทพวน เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (นับแบบใหม่) ที่ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย[2]
พล.อ. สายหยุด เคยสมรสกับคุณหญิงอุไรวรรณ เกิดผล เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษาระบุว่า นางเอว่า มาริยา ดีกลี่ อัลบีซี่ (Eva Maria Marquise Degli Albizi[3]) บุคคลสัญชาติเยอรมัน ได้รับการอนุญาตให้ถือสัญชาติไทยตาม พล.อ. สายหยุด เกิดผล สามีบุคคลสัญชาติไทย[4]
การศึกษา
[แก้]พล.อ. สายหยุด จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2483 ต่อมาได้ศึกษาต่อเพิ่มเติมจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และได้รับทุนไปศึกษาวิชาการทหารเพิ่มเติมที่สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย[5]
การทำงาน
[แก้]ราชการทหาร
[แก้]พล.อ. สายหยุด รับราชการครั้งแรกที่จังหวัดพิษณุโลก[5] เป็นผู้บังคับหมวด กรมทหารราบ กองพันทหารราบที่ 29 จังหวัดพิษณุโลก เคยทำการรบในสงครามอินโดจีน, สงครามมหาเอเชียบูรพา, สงครามเกาหลี และสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ในพระราชอาณาจักรลาว[5] และได้รับตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก
เมื่อปี พ.ศ. 2504 เป็นผู้ร่วมจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเคยดำรงตำแหน่งเสนาธิการ และผู้อำนวยการ กอ.รมน.[1] ในปี พ.ศ. 2517 รับพระราชทานยศ"พลเอก" [6]
ตำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกเมื่อ พ.ศ. 2521 ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้พระราชทานยศ พลเรือเอก และพลอากาศเอก พ.ศ. 2524[7] และเกษียณอายุราชการในเวลาต่อมา
การเมือง และงานพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2516 : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[8]
- พ.ศ. 2518 : ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทย[9]
- พ.ศ. 2529 : ประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529[10]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก พลอากาศเอก และนายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย [11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)
- พ.ศ. 2487 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[16]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[17]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[18]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[20]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[21]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
[แก้]- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2496 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[22]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2495 – เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (ทหารบก)
- พ.ศ. 2498 – เหรียญบรอนซ์สตาร์[23]
- พ.ศ. 2526 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา[24]
- ลาว :
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นทุติยาภรณ์[25]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2513 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 2[26]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชการสงครามเกาหลี
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา มาเลเซีย ชั้นที่ 2[27]
- ออสเตรเลีย :
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรเลีย ชั้นที่ 3[28]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สายหยุด เกิดผล, พลเอก. ชีวิตนี้ มีค่ายิ่ง พลเอก สายหยุด เกิดผล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549. 740 หน้า. ISBN 978-9740-40-3-050
- ↑ บทบรรณาธิการ มติชนสุดสัปดาห์ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เสถียร จันทิมาธร, 2549
- ↑ Press Release 2012 - Aus Day
- ↑ บุคคลสัญชาติเยอรมัน ได้รับการอนุญาตให้ถือสัญชาติไทย
- ↑ 5.0 5.1 5.2 สายหยุด เกิดผล, พลเอก. พลเอกสายหยุด เกิดผล : คิด เขียน พูด ทำ. กรุงเทพฯ : กลุ่มอาสาประชามติ / ธนบรรณจัดจำหน่าย, 2533. 256 หน้า.
- ↑ รับพระราชทานยศ พลเอก
- ↑ รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และ พลอากาศเอก พ.ศ. 2524
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ขุนศึกลาวพวน
- ↑ ประธานกรรมการในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์
- ↑ ได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก พลอากาศเอก และนายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๑๖๒๐, ๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๗
- ↑ แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและจักรพรรดิมาลา
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๕ จากเว็บไซต์ thaiscouts
- ↑ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)
- ↑ ราชกิจจุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 70 ตอนที่ 21 หน้า 1391 ง, 31 มีนาคม 2496
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่มที่ 72 ตอนที่ 18 หน้า 560, 1 มีนาคม 2498
- ↑ AGO 1983-49 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 66 ฉบับพิเศษ หน้า 22, 14 กรกฏาคม 2510
- ↑ 국가기록원 기록물뷰어
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1971.
- ↑ ANSWERS TO QUESTIONS Honorary Awards
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2466
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากอำเภอศรีสัชนาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ชาวไทยที่มีอายุเกิน 100 ปี
- เหรียญสหประชาชาติ
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์