เสริมศักดิ์ การุญ
เสริมศักดิ์ การุญ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กันยายน พ.ศ. 2486 อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | นริสา การุญ |
เสริมศักดิ์ การุญ (เกิด 23 กันยายน พ.ศ. 2486) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง 7 สมัย
ประวัติ
[แก้]เสริมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายอมร นางสายหยุด การุญ เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และ ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง [1] มีบุตรชาย ชื่อร้อยตรี กฤษฎา การุญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22
ปี 2561 เขาและภริยา ประสบอุบัติเหตุรถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ ได้รับบาดเจ็บสาหัส[2]
งานการเมือง
[แก้]เสริมศักดิ์ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2539 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในลำดับที่ 39 สังกัดพรรคไทยรักไทย ในพ.ศ. 2544 เป็นสมัยสุดท้าย และวางมือทางการเมืองในที่สุด
เสริมศักดิ์ การุญ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[3] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
ในปี 2561 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[4][5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เสริมศักดิ์ การุญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดระยอง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]เสริมศักดิ์ การุญ ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก เสริมศักดิ์ การุญ เมื่อ พ.ศ. 2547[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ “เสริมศักดิ์ การุญ” ขับรถเสียหลักพลิกคว่ำตกร่องกลางถนนเจ็บสาหัสพร้อมภรรยา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีเล่ม 110 ตอนที่ 146 วันที่ 24 กันยายน 2536
- ↑ 'เสริมศักดิ์ การุญ' อดีตรมช.แรงงาน เชื่อมั่นภูมิใจไทย นำทีม'ระยอง'เข้าพรรค
- ↑ อดีตรัฐมนตรี-ที่ปรึกษาภูมิใจไทย หลับใน รถคว่ำพร้อมภรรยา อาการสาหัส
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0B/00150214.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอแกลง
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน