ไสว ไสวแสนยากร
ไสว ไสวแสนยากร | |
---|---|
ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กันยายน พ.ศ. 2502 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2507 | |
ก่อนหน้า | จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
ถัดไป | แสง จุละจาริตต์ |
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 กันยายน พ.ศ. 2500 – 9 กันยายน พ.ศ. 2502 | |
ก่อนหน้า | เผ่า ศรียานนท์ |
ถัดไป | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รักษาราชการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (76 ปี) |
คู่สมรส | สะอิ้ง ไสวแสนยากร (สกุลเดิม: วัฒนภูติ) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ยศ | พลตำรวจเอก พลเอก |
บังคับบัญชา | กรมตำรวจ |
พลเอก พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ, อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย, อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และอดีตจเรทหารสื่อสาร
ประวัติ
[แก้]พลเอก พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 มีนามเดิมว่าเจ้าศรีไสว อุ่นคำ เป็นโอรสของเจ้าศรีสญชัย บิดาเป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร หรือ เจ้าอุ่นคำ พระเจ้าประเทศราชแห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และเป็นพระราชอนุชาในพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ หรือ เจ้าคำสุก (พระราชบิดาของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์) มีพี่น้องร่วมพระบิดา ได้แก่ เจ้าศรีสวัสดิ์ มหินทรเทพ (เข้ารับราชการในไทยเป็น ขุนศรีสวัสดิ์), เจ้าศรีแสวง, เจ้าสุดสงวน (ญ.), เจ้าคำผิว (ญ.) และเจ้าสวาท[1]
ครั้นอยู่ในไทยท่านใช้ชื่อในเอกสารว่า ไสว อุ่นคำ แล้วรับราชการเป็น ขุนไสวแสนยากร ก่อนเปลี่ยนนามสกุลเป็น ไสวแสนยากร ตามราชทินนาม[1]
พลเอก ไสวถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 สิริอายุ 76 ปี
การทำงาน ยศ และบรรดาศักดิ์
[แก้]- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 - ร้อยตรี[2]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2481 - พันตรี[3]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2483 - ปลัดจังหวัดหนองคาย[4]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 - พันเอก
- - รองจเรทหารบก
- 1 มกราคม พ.ศ. 2491 - พลตรี[5]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2491 - จเรทหารสื่อสาร[6]
- 11 กันยายน พ.ศ. 2494 - รักษาราชการในตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 และ ผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 2[7]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2495 - รับพระราชทานยศพลโท (พระราชทานยศย้อนหลัง)[8]
- 30 เมษายน พ.ศ. 2495 - แม่ทัพภาคที่ 2 และผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 2 (ขณะนั้นมียศเป็น พลตรี)[9]
- 16 กันยายน พ.ศ. 2497 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[10]
- 14 มีนาคม พ.ศ. 2499 - รับพระราชทานยศพลเอก [11]
- 19 กันยายน พ.ศ. 2500 - อธิบดีกรมตำรวจ [12]
- 30 ตุลาคม พ.ศ. 2500 - รับพระราชทานยศพลตำรวจเอก [13]
- 7 ธันวาคม พ.ศ. 2500 - นายตำรวจราชสำนักพิเศษ[14]
- 9 กันยายน พ.ศ. 2502 - ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังคงรับตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกตามเดิม
โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการทหารบก ได้มารักษาราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจอีกตำแหน่งหนึ่ง [15]
งานการเมือง
[แก้]วันที่ 2 สิงหาคม 2497 พลเอก ไสว ขณะมียศเป็น พลโท ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[19]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[20]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[21]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[22]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[23]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[24]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[25]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ลาว :
- พ.ศ. 2500 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นประถมาภรณ์[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ภาคต้น). ธนบุรี : สำนักพิมพ์อโยธยา, ม.ม.ป., หน้า 126-9
- ↑ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๘๐๓)
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๑๙)
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (หน้า ๒๔๓๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๒๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2016-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 73 ตอน 26 ง พิเศษ หน้า 1 27 มีนาคม พ.ศ. 2499
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งข้าราชการ เล่ม 74 ตอน 79 ง พิเศษ หน้า 2 21 กันยายน พ.ศ. 2500
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 74 ตอน 98 ง หน้า 2735 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้อธิบดีกรมตำรวจพ้นตำแหน่งหน้าที่และตั้งผู้รักษาการแทน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอน 88 ง หน้า 2157 15 กันยายน พ.ศ. 2502
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๙๖๖, ๑๖ มีนาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๔, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๒๐, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๑๗๐๒, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๓๓๗, ๘ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 16 หน้า 520, 19 กุมภาพันธ์ 2500
ก่อนหน้า | ไสว ไสวแสนยากร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หลวงสวัสดิสรยุทธ (ดล บุนนาค) |
แม่ทัพภาคที่ 2 (2494 – 2497) |
ครวญ สุทธานินทร์ | ||
ประมาณ อดิเรกสาร | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สิงหาคม 2497 - 26 กุมภาพันธ์ 2500) |
เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร | ||
เผ่า ศรียานนท์ | อธิบดีกรมตำรวจ (2500 - 2502) |
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ||
จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ | ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (11 กันยายน 2502 – 31 ธันวาคม 2507) |
แสง จุละจาริตต์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2447
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2523
- ตำรวจชาวไทย
- อธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- แม่ทัพภาคที่ 2
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ชาวไทยเชื้อสายลาว
- บรรดาศักดิ์ชั้นขุน
- บุคคลจากโรงเรียนทวีธาภิเศก
- ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บุคคลที่ได้มาเป็นพลเมืองไทย
- พรรคสหประชาไทย
- ทหารบกชาวไทย