สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (1 ปี 192 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2 ปี 271 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ผู้ว่าการแทน | พงศ์เทพ เทพกาญจนา |
ก่อนหน้า | กษิต ภิรมย์ |
ถัดไป | พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (67 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรค | ประชาธิปัตย์ (2529-2549) ไทยรักไทย (2549-2550) พลังประชาชน (2550-2551) เพื่อไทย (2551-2560) |
คู่สมรส | อัญชลี โตวิจักษณ์ชัยกุล (หย่า)[1] |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ลายมือชื่อ | ![]() |
สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ชื่อเล่น ปึ้ง[2] เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อดีตประธานกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร อดีตประธานที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ[3][4] ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ[แก้]
สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นญาติของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสุมาลี โตวิจักษณ์ชัยกุล น้าของสุรพงษ์ แต่งงานกับเสถียร ชินวัตร อาของ ทักษิณ ชินวัตร[5] สุรพงษ์ เคยสมรสกับอัญชลี โตวิจักษณ์ชัยกุล มีบุตร 2 คน คือ ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล และศุภิสรา โตวิจักษณ์ชัยกุล
สุรพงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปีที่ 5 จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยยังทาวน์สเตท รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา และปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแห่งแอเคริน รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา มีน้องชายชื่อ สุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[6]
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา เขาได้รับการประกันตัวในวันดังกล่าวด้วยวงเงิน 5 ล้านบาท[7] โดยศาลมีคำสั่งห้ามออกนอกประเทศ
งานการเมือง[แก้]
พรรคประชาธิปัตย์[แก้]
สุรพงษ์ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8] ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[9] ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดเดิม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับปกรณ์ บูรณุปกรณ์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย[10] จากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สุรพงษ์ยังคงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่ย้ายมาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 41 แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ สุรพงษ์ ได้มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายโจมตี ทักษิณ ชินวัตร[11]
พรรคไทยรักไทย - พลังประชาชน - เพื่อไทย[แก้]
ต่อมา สุรพงษ์ ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2549 ภายหลังรัฐประหารและพรรคไทยรักไทยถูกยุบพรรค จึงย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน และ สุรพงษ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรคในขณะนั้น รวมถึงได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ต่อจากนั้นได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย[12] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[13] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 20 ของพรรคเพื่อไทย และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[14] ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพิ่มอีกตำแหน่งหนึ่ง[15]
อนึ่ง สุรพงษ์ เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมลงนามถวายฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษแก่ ทักษิณ ชินวัตร ร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2552[16]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส. แทนพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก[17]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 4[18] แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[20]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 'สุรพงษ์'อดีตรมว.กต.แจ้งครอบครองงาช้าง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ปึ้ง" ร่ายยาวย้ำพูดครั้งสุดท้ายออกพาสปอร์ตให้ "แม้ว" ได้ สภาประท้วงวุ่นค้านไม่เห็นด้วยใช้คำว่า "นักโทษชาย", 27 พฤศจิกายน 2555, ข่าวมติชนออนไลน์.
- ↑ ประธานที่ปรึกษาศูนย์รักษาความสงบ
- ↑ “ปึ้ง” ขู่จับกกต. ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ “เฉลิม” ลั่นอย่าให้ตร.ทนไม่ได้
- ↑ "สุรพงษ์" เปิดความลับ ที่แท้เป็นญาติกับ "แม้ว" ขนาดแกนนำ "แดง" ก็ไม่รู้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ↑ รอดนอนคุก! ศาลให้ประกัน 'สุรพงษ์' 5 ล้าน ห้ามออกนอกประเทศ
- ↑ รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
- ↑ "จากเว็บไซต์ข้อมูลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
- ↑ "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
- ↑ "ลิ่วล้อสองหัวแห่งเมืองเชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-09-04.
- ↑ พรรคเพื่อไทยเผยรายชื่อ 32 ส.ส.ที่โหวตเลือกอภิสิทธิ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-09.
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 2
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศ ใหรัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษที่ 164 ง วันที่ 28 ตุลาคม 2555 หน้า 1
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, สุรพงษ์ นับญาติ-อาทักษิณร่วมลงชื่อฎีกา โวเข้าเกณฑ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ แฉปลด"ประชา"พ้นผอ.ศอ.รส.ฉุนใจไม่สู้.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1eOeLg9[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ เก็บถาวร 2014-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ประวัติจากเว็บไซต์พรรคเพื่อไทย เก็บถาวร 2009-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่พฤศจิกายน 2021
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่สิงหาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
- บุคคลจากจังหวัดเชียงใหม่
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคกิจสังคม
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยยังทาวน์สเตต
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยแอเคริน