ข้ามไปเนื้อหา

ประจวบ สุนทรางกูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประจวบ สุนทรางกูร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าสิทธิ จิรโรจน์
ถัดไปพลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก ประภาส จารุเสถียร
ถัดไปพลตำรวจเอก พจน์ เภกะนันทน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2463
เสียชีวิต21 มีนาคม พ.ศ. 2535 (71 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงพิมพา สุนทรางกูร
(ถึงแก่อนิจกรรม)
บุตรพลตำรวจตรี วีระพงษ์ สุนทรางกูร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลเอก
พลตำรวจเอก
นายกองใหญ่[1]
บังคับบัญชากองทัพบกไทย
กรมตำรวจ
กองอาสารักษาดินแดน

พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร (5 เมษายน พ.ศ. 2463 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2535) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ

ประวัติ

[แก้]

ประจวบ สุนทรางกูร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2463 เป็นบุตรของนายมนู กับนางเป้า เกลี้ยงกรม จบการศึกษาจากโรงเรียนเทคนิคทหารบก สมรสกับคุณหญิงพิมพา สุนทรางกูร (สกุลเดิม: ทวีสิน) ซึ่งเธอมีศักดิ์เป็นอาของเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 30[2]

การทำงาน

[แก้]

ประจวบ สุนทรางกูร เริ่มรับราชการเป็นทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2489 ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย 3 กรมรถรบ หกปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 4[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ได้รับแต่งตั้งยศ "พลตรี" เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารม้า ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งยศ "พลโท" ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2516 (รัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์) และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมตำรวจในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ภายหลังจากที่ จอมพล ประภาส จารุเสถียร ได้พ้นจากตำแหน่งรักษาราชการแทน อธิบดีกรมตำรวจ [4] พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจเอก [5] ต่อมาในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 พลโทประจวบได้รับพระราชทานยศ พลเอก [6]

ต่อมาในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 พล.ต.อ. ประจวบ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมตำรวจ พร้อมกับถูกโยกย้ายกลับไปประจำกองบัญชาการกองทัพบกพร้อมกับพล.ต.ท. วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ [7] โดย พล.ต.ท. พจน์ เภกะนันทน์ รองอธิบดีกรมตำรวจรักษาราชการแทน จนกระทั่งได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี 2 สมัย[8][9] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2529

พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร เป็นประธานสโมสรคนแรก ของสโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่
  2. "เปิดสาแหรก "เศรษฐา ทวีสิน" สายเลือดมหาเศรษฐี 10 ตระกูลดัง". ประชาชาติธุรกิจ. 2 กันยายน 2566. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2023.
  3. "ภาพประวัติศาสตร์รถถังรถเกราะของไทยในแต่ละหน่วย".
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอน 136 ง หน้า 3412 23 ตุลาคม พ.ศ. 2516
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ เล่ม 90 ตอน 147 ง พิเศษหน้า 21 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 70 ง หน้า 891 1 เมษายน พ.ศ. 2518
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 35 ง หน้า 10 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  10. "สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย เอฟ.ซี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๖, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
  17. (2535). อนุสรณ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม พุทธศักราช 2536. บริษัท อมรินพริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด.
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาติประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 102 ตอนที่ 60 ฉบับพิเศษ หน้า 12, 16 พฤษภาคม 2528
ก่อนหน้า ประจวบ สุนทรางกูร ถัดไป
จอมพล ประภาส จารุเสถียร
อธิบดีกรมตำรวจ
(พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517)
พลตำรวจเอกพจน์ เภกะนันทน์