พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 | |
ก่อนหน้า | พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล |
ถัดไป | พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 |
ศาสนา | พุทธ |
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
ประวัติ[แก้]
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 ที่จังหวัดพระนคร เป็นโอรสของหม่อมเจ้าเข็ม อิศรศักดิ์ พระโอรสในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ [1]
ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น หม่อมอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ราชินิกูล ถือศักดินา 800 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438[2]ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ แล้วเลื่อนเป็น พระยาอิศรพันธ์โสภณ แล้วเลื่อนเป็น พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ถึงแก่กรรมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 อายุ 84 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2501 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส[3]
งานการเมือง[แก้]
พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย (ผู้แทนราษฎรชั่วคราว พ.ศ. 2475) ขณะมีอายุได้ 59 ปี ซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก ทั้งที่มิได้เป็นหนึ่งในคณะผู้ร่วมเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เมื่อ พ.ศ. 2476[4] และต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)[5]
ต่อมาในเหตุการณ์กบฏพระยาทรงสุรเดช เมื่อ พ.ศ. 2481 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการกบฎเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงถูกนำตัวขึ้นสู่การพิพากษาของศาลพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นในการนี้โดยเฉพาะ และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยก่อนหน้านั้นในเหตุการณ์กบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ก็ถูกเพ่งเล็งมาก่อนแล้วว่าให้การดูแลเอาใจใส่นักโทษเป็นพิเศษในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก่อนจะได้รับการนิรโทษกรรมในยุครัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2487 ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกพฤติสภาชุดที่ 2 (วุฒิสภา)[6] หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 และพ้นจากตำแหน่งไปหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2494 และได้วางมือทางการเมืองในที่สุด แต่ก็ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองมาตลอดจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม[1]
บรรดาศักดิ์และตำแหน่ง[แก้]
- 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ราชินิกูล
- เจ้ากรมตรวจ
- 27 กันยายน พ.ศ. 2441 รั้งตำแหน่งอธิบดีกรมสารบัญชี[7]
- พ.ศ. 2443 ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่[8]
- ปลัดบัญชีกระทรวงมหาดไทย
- อธิบดีกรมเก็บ
- 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 ผู้แทนปลัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[9]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2451 ปลัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[10]
- 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 พระยาอิศรพันธ์โสภณ ถือศักดินา 1000[11]
- 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 พ้นจากตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[12]
- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2462 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ ถือศักดินา 1600[13]
- 30 มีนาคม พ.ศ. 2465 ปลัดกรมสำรวจ[14]
- อธิบดีกรมสำรวจ
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 ผู้รั้งสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการ มณฑลปัตตานี[15]
- 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี[16]
ยศ[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2494 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2473 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[20][21]
- พ.ศ. 2467 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[22]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 หน้า 10 บทความ–การ์ตูน, พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ : รัฐมนตรีที่เจอโทษขบถ. "ส่วนร่วมสังคมไทย" โดย นรนิติ เศรษฐบุตร. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,382: วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ วุฒิสภา ชุดที่ 2 (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2489)
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ส่งสัญญาบัตร์ตำแหน่งไปพระราชทาน
- ↑ แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่าง ๆ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก เรื่อง พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (74 ง): 5653. 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ง): 3030. 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ง): 3078. 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ง): 2657. 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)