ศูนย์การทหารปืนใหญ่
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายภูมิพล | |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
กองบัญชาการ | ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15160 |
วันสถาปนา | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 |
เว็บไซต์ | https://artycenter.rta.mi.th/ |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พลตรี[1] พิศิษฐ ปัญญานะ [2] |
ศูนย์การทหารปืนใหญ่ มีศูนย์บัญชาการตั้งอยู่ ณ ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สังกัดกองทัพบกไทย ตั้งอยู่ที่ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ประวัติศูนย์การทหารปืนใหญ่
[แก้]ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าเหล่าและสายวิทยาการปืนใหญ่สนามและการต่อสู้ป้องกันภัย ทางอากาศของ ทบ. ในปัจจุบันนี้นั้น ถือกำเนิดมาจาก จเรทัพบก ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามกุฏราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งเป็นจเรทัพบกและมีนายพันเอกพระประสิทธิ์ราชศักดิ์ เป็นผู้ช่วยจเรทัพบก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 โดยให้ขึ้นตรงต่อกรมยุทธนาธิการ (ทบ.) สาเหตุที่โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจเรทัพบกขึ้นก็เพราะเริ่มมีหน่วยทหารประจำหัวเมืองต่าง ๆ หลายหัวเมือง จำเป็นต้องมีผู้ตรวจการทหารบกทำการตรวจตราต่างพระเนตรพระกรรณ
- ต่อมาในปี 2448 เปลี่ยนชื่อจากจเรทัพบกเป็นกรมจเรทัพบก คงมีเจ้าหน้าที่เพียง 2 ตำแหน่ง ดังเดิม.
- ครั้นปี 2449 ได้เพิ่มเจ้าหน้าที่ให้อีก 2 ตำแหน่ง คือ ผู้ช่วยจเรทหารราบ และผู้ช่วยจเรทหารปืนใหญ่ พระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล) ในขณะนั้นมียศ นายพันตรี หลวงสุรยุทธโยธาหาญ เป็นผู้ช่วยจเรทหารราบ และนายพันตรี หลวงศัลวิธานนิเทศ เป็นผู้ช่วยจเรทหารปืนใหญ่.
- ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2541 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจเรทหารปืนใหญ่, จเรทหารช่างและจเรพัสดุขึ้น 3 ตำแหน่ง
ครั้นถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2451 กรมยุทธนาธิการ ได้ปรับปรุงกิจการจเร ใหม่โดยจัด ตั้งจเรเหล่า และ กำหนด หน้าที่จเรไว้เป็นข้อบังคับจเรทหารบก แบ่งเป็นจเรทัพบก, จเรทหารราบ, จเรทหารม้า, จเรทหารปืนใหญ่, จเรทหารช่าง และจเรพัสดุ สำนักงานจเรต่าง ๆ เป็นส่วนรวมว่าจเรทหารบกแผนกจเรทหารปืนใหญ่ ซึ่งกลายเป็นศูนย์การทหารปืนใหญ่ ในปัจจุบัน โดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2451
ในตอนปลายรัชกาล (2453) มีการขยายกำลังกองทัพครั้งใหญ่ คือมีกำลัง 10 กองพล หน่วยส่วนกลาง มีถึง 12 หน่วย สำหรับแผนกจเรทหารปืนใหญ่ของกรมยุทธนาธิการนั้นมี พลตรี กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ทรงรั้งตำแหน่งจเรทหาร ปืนใหญ่และจเรทหารช่างด้วย เมื่อปืนใหญ่มีระยะยิงไกลขึ้นและกระสุนมีอำนาจมากขึ้น จะเป็นทีจะต้องหา สนามยิงปืน ที่เหมาะสม และมีความปลอดภัยเพียงพอ กองทัพบกจึงตกลงใจให้สร้างสนามยิงปืนใหญ่ขึ้นที่ตำบล โคกกระเทียม อำเภอเมือง ลพบุรี ในปี 2457 คือที่ตั้งศูนย์การทหารปืนใหญ่ปัจจุบันนี้ โดยมี พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกลาโหม จเรการปืนใหญ่ ทหารบกและรักษาการ ผู้บังคับการ โรงเรียน ทหารปืนใหญ่เป็นแม่กองงานท่านแรก วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2481 แผนกที่ 3 กรมจเรทหารบก (บก.ศป.) ได้ย้ายมารวมกับ กองโรงเรียนทหาร ปืนใหญ่ที่โคกกระเทียม และแปรสภาพ เป็นแผนกปืนใหญ่กรมเสนาธิการทหารบก เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
- พ.ศ. 2488 แผนกปืนใหญ่กรมเสนาธิการทหารบกได้แปรสภาพเป็นกรมจเรทหารปืนใหญ่
- วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสนามยิงปืนใหญ่ โคกกระเทียม ซึ่งเป็นที่ตั้งกรมจเรทหารปืนใหญ่ว่า ค่ายพหลโยธิน
- 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 กรมจเรทหารปืนใหญ่ แปรสภาพเป็น กรมการทหารปืนใหญ่ขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารบก
- ปี พ.ศ. 2497 กรมทหารปืนใหญ่ได้แปรสภาพเป็นศูนย์การทหารปืนใหญ่ลง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงอาจกล่าวได้ว่า และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 คือวันเกิดของศูนย์การทหารปืนใหญ่อีกด้วย
- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ค่ายพหลโยธินได้เปลี่ยนนามค่ายเป็น ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ค่ายภูมิพล[3]
หน่วยขึ้นตรง
[แก้]- โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
- กองพันทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
- กองบริการ ศูนย์การทหารปืนใหญ่
- หน่วยตรวจโรค ศูนย์การทหารปืนใหญ่
รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่
[แก้]- พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) (พ.ศ. 2435 - 2447)
- พลตรี พระยาสีหราชเดโชชัย (พ.ศ. 2447 - 2458)
- พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช (พ.ศ. 2458 - 2463)
- พลตรี พระอมรวิสัยสรเดช (พ.ศ. 2463 - 2469)
- พันเอก หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี (พ.ศ. 2469 - 2473)
- พันเอก พระศรายุทธสรสิทธิ์ (พจน์ พหลโยธิน) (พ.ศ. 2473 - 2475)
- พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) (พ.ศ. 2475 - 2475)
- พันตรี หลวงสินาดโยธารักษ์ (ชิต มั่นศิลป์) (พ.ศ. 2476 - 2476)
- พันตรี หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พ.ศ. 2476 - 2481)
- พันตรี หลวงสวัสดิ์สรยุทธ (พ.ศ. 2480 - 2484)
- พันเอก อุทัย วงศ์วีรเดช (พ.ศ. 2486 - 2494)
- พันเอก ประสิทธิ์ อะดุงเดชจรูญ (พ.ศ. 2486 - 2487)
- พลจัตวา หลวงประเสริฐศัตราวุธ (พ.ศ. 2487 - 2487)
- พันเอก หลวงจุลยุทธยรรยง (ดล บุนนาค) (พ.ศ. 2489 - 2491)
- พลตรี ชาญ วุฒิรณประมวลธน (พ.ศ. 2494 - 2495)
- พลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ (พ.ศ. 2495 - 2500)
- พลตรี สาธร กาญจนรักษ์ (พ.ศ. 2500 - 2507)
- พลตรี วรวิทย์ เศรษฐบุตร (พ.ศ. 2507 - 2517)
- พลตรี สัมผัส พาสนยงภิญโญ (พ.ศ. 2517 - 2522)
- พลตรี อัมพร สมบูรณ์ยิ่ง (พ.ศ. 2522 - 2525)
- พลตรี อรรคพล สมรูป (พ.ศ. 2525 - 2526)
- พลตรี ศิรินทร์ ธูปกล่ำ (พ.ศ. 2526 - 2530)
- พลตรี อำพน บุตรเมฆ (พ.ศ. 2530-2533)
- พลตรี วิศาล กังวาลไกล (พ.ศ. 2533 - 2535)
- พลตรี พิชัย ฉินนะโสต (พ.ศ. 2535 - 2538)
- พลตรี ไพบูลย์ กาญจนพิบูลย์ (พ.ศ. 2538 - 2542)
- พลตรี ประเสริฐ กาสุวรรณ (พ.ศ. 2542 - 2544)
- พลตรี วิบูลย์ ปิยะพิสุทธิ์ (พ.ศ. 2544 - 2546)
- พลตรี สายชล ทับพุ่ม (พ.ศ. 2550 - 2552)
- พลตรี วีระพันธ์ เกตุรัตน์ (พ.ศ. 2552 - 2553
- พลตรี เฉลิมเกียรติ เมฆทรัพย์ (พ.ศ. 2553 - 2555)
- พลตรี บุญธรรม โอริส (พ.ศ. 2555 - 2557)
- พลตรี สุรศักดิ์ แพน้อย (พ.ศ. 2557 - 2559)
- พลตรี ณรงค์ศักดิ์ อัมรานนท์ (พ.ศ. 2559 - 2560)
- พลตรี ไกรเวทย์ พูลอำไภย์ (พ.ศ. 2560 - 2561)
- พลตรี เฉลิมเกียรติ พิมพ์ทนต์ (พ.ศ. 2561 - 2562)
- พลตรี วิสันติ สระศรีดา (พ.ศ. 2562 - 2563)
- พลตรี ทวนชัย นัดนะรา (พ.ศ. 2563 - 2564)
- พลตรี นพสิทธิ์ คงชินศาสตร์ธิติ (พ.ศ. 2564 - 2566)
- พลตรี พิศิษฐ ปัญญานะ [4] (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
สถานที่สำคัญภายในค่าย
[แก้]ในปัจจุบันมีการเปิดค่ายทหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในค่ายทหารต่าง ๆ ของจังหวัดลพบุรี เช่นเดียวกับศูนย์การทหารปืนใหญ่ฯ แห่งนี้ การเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร ที่เดี๋ยวนี้มีค่ายทหารหลายแห่ง เปิดประตูให้คนทั่วไปเข้ามาท่องเที่ยว อย่างที่ "ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี ซึ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนี้
- กองบัญชาการเขาน้ำโจน (ตึกชาโต้) จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487 ตั้งอยู่บนเขาน้ำโจน เป็นศิลปกรรมแบบฝรั่งเศส สร้างด้วยหินทั้งหลัง ออกแบบให้มีลักษณะของป้อมปราการที่แข็งแกร่งดุจหินผา มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในห้วงสงครามมหาเอเชียบูรพา โดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ใช้ตึกนี้เป็นตึกบัญชาการวางแผนยุทธศาสตร์
- พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้จัดที่บ้านพักของท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่โคกกระเทียมลพบุรี จัดเป็นห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องรับแขก ห้องส่วนตัว มีตู้ของใช้เสื้อผ้า และห้องเก็บของ
- ตึกพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ 111 ปี ฯพณฯ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ภายในพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพของที่ระลึก เหรียญตราและชุดเครื่องแบบ
- พิพิธภัณฑ์อาวุธทหารปืนใหญ่ เป็นที่เก็บรวบรวมปืน และอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารปืนใหญ่ อาทิเช่น ปืนใหญ่โบราณ ปืนใหญ่มหาชัย ปืนใหญ่มหาฤกษ์ ปืนใหญ่โบราณเนื้อทองเหลือง ปืนใหญ่ภูเขาเบอร์ 51 เป็นต้น
- อนุสรณ์สถาน จอมพล ป.พิบูลสงคราม ปรับปรุงจากบ้านพักนายทหารสัญญาบัตร หมายเลข 59 สร้างในปี พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นบ้านพักของ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะที่ ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก
- อนุสาวรีย์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2522 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของ ฯพณฯ ที่มีต่อประเทศชาตินานัปการ
- อนุสาวรีย์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของ ฯพณฯ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น "เชษฐบุรุษ"ของไทย
- หลวงพ่อเขาน้ำโจน เป็นพระพุทธรูป หินทรายปางนาคปรก สมัยลพบุรี เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวค่ายพหลโยธินและบริเวณใกล้เคียง เป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่และงดงามอย่างยิ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 13 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 29 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเปลี่ยนแปลงนามค่ายทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 29 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน เก็บถาวร 2011-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน