คนึง ฦาไชย
ศาสตราจารย์พิเศษ คนึง ฦาไชย ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มกราคม พ.ศ. 2467 จังหวัดอุตรดิตถ์ |
คู่สมรส | สมบูรณ์ ฦาไชย |
ศาสตราจารย์พิเศษ[1] คนึง ฦาไชย เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประวัติ[แก้]
คนึง ฦาไชย เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2467 ที่อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จบการศึกษาปริญญาตรีธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2489[2] และปริญญาด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[3]
การทำงาน[แก้]
คนึง ฦาไชย ทำงานเป็นอัยการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย (ในขณะนั้น) ต่อมา ใน พ.ศ. 2516 ย้ายจากกรมอัยการเข้าทำงานในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2515 จนถึง พ.ศ. 2516 ยังทำหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 เมื่อ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาจึงได้รับเชิญให้มาทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[5] จึงต้องลาออกจากราชการซึ่งในขณะนั้นกำลังดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
นอกจากนั้นเขายังทำหน้าที่สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา กระทั่งในปี พ.ศ. 2535 เขาจึงได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2520 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/D/133/4.PDF
- ↑ 2.0 2.1 "ศาสตราจารย์คนึง ฦาไชย - กฎหมายทันสมัย แก้ไขล่าสุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-05. สืบค้นเมื่อ 2018-06-24.
- ↑ ประวัติกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๗ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๑๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕, ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๑๖๖๗, ๑๒ เมษายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๙๑, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467
- บุคคลจากจังหวัดอุตรดิตถ์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.