สุกิจ นิมมานเหมินท์
สุกิจ นิมมานเหมินท์ | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ และประภาส จารุเสถียร | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | ประภาส จารุเสถียร |
ถัดไป | ประกอบ หุตะสิงห์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2495 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | หม่อมสนิทวงศ์เสนี |
ถัดไป | มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | พจน์ สารสิน ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ |
ถัดไป | สุนทร หงส์ลดารมภ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล |
ถัดไป | อภัย จันทวิมล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 จังหวัดเชียงใหม่ |
เสียชีวิต | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 (69 ปี) |
พรรคการเมือง | สหภูมิ |
คู่สมรส | อนงค์ อิศรภักดี หม่อมหลวงบุปผา กุญชร จินดา สุกัณศีล |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ศาสตราจารย์ สุกิจ นิมมานเหมินท์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519[1][2]) อดีตราชบัณฑิต อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหลายกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[3] 3 สมัย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง 1 สมัย
ประวัติ
[แก้]สุกิจ นิมมานเหมินท์ เกิดที่ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของหยี กับจันทร์ทิพย์ นิมมานเหมินท์[1] เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนชัวย่งเส็งอนุกูลวิทยา ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ (อสช 6368) ปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยเดวิชแอนด์เอลมันส์ สหรัฐอเมริกา ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชีวิตครอบครัวได้สมรสครั้งแรกกับอนงค์ อิศรภักดี[1] มีบุตรด้วยกันสามคนได้แก่ อรสา, อุสุม และอัศวิน แต่ภายหลังได้หย่ากันสุกิจจึงสมรสครั้งที่สองกับหม่อมหลวงบุปผา นิมมานเหมินท์ (ราชสกุลเดิม: กุญชร)[4] นักเขียนชาวไทย เจ้าของนามปากกา "ดอกไม้สด" แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ครั้นหม่อมหลวงบุปผาเสียชีวิต จึงสมรสครั้งที่สามกับจินดา สุกัณศีล มีบุตรชายคนเดียวคือกฤดา นิมมานเหมินท์[5]
การทำงาน
[แก้]ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์ เริ่มรับราชการในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพฤฒิสภา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งอีก 2 ครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500[6] ในสังกัดพรรคสหภูมิ[7][8][9]
นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่งในทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม.23[10], ครม.24[11]) กระทรวงเศรษฐการ[12] กระทรวงศึกษาธิการ และรองนายกรัฐมนตรี
สุกิจ นิมมานเหมินท์ เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารเพื่อการอุตสาหกรรม ซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอุตสาหกรรม พ.ศ. 2495[13]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]สุกิจ นิมมานเหมินท์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ณ วัดธาตุทอง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2501 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2514 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[17]
- พ.ศ. 2514 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2510 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "สุกิจ นิมมานเหมินท์ : หัวหน้าพรรคสหภูมิ". เดลินิวส์. 1 Jan 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-27. สืบค้นเมื่อ 10 Apr 2016.
- ↑ ย้อนเหตุการณ์ที่เชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
- ↑ "ประวัติศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์". มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 Apr 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ "สังกัดพรรคสหภูมิ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 2019-04-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ กระทู้ถามที่ ส. ๕/๒๕๐๑ ของนายทองดี อิสราชีวิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบเลิกกิจการธนาคารอุตสาหกรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๔๒, ๗ มกราคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๒๐ ง หน้า ๔๘๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๗๗, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔
ก่อนหน้า | สุกิจ นิมมานเหมินท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ (21 กันยายน 2500 – 20 ตุลาคม 2501) |
![]() |
สุนทร หงส์ลดารมภ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2449
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2519
- นายกราชบัณฑิตยสภาไทย
- บุคคลจากอำเภอเมืองเชียงใหม่
- สกุลนิมมานเหมินท์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- ราชบัณฑิต
- นักวิชาการจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- รัฐมนตรีไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคสหภูมิ
- พรรคชาติสังคม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2475–2516
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544