ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | มั่น พัธโนทัย |
ถัดไป | จุติ ไกรฤกษ์ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม พ.ศ. 2555 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2499 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา |
คู่สมรส | ว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี (เสียชีวิต) |
ศาสนา | พุทธ |
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ประวัติ[แก้]
ระนองรักษ์ เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายเลิศ หงษ์ภักดี และนางตรูจิตต์ หงษ์ภักดี มีชื่อเล่นว่า นก สมรสกับว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี มีบุตร 3 คน จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จาก พยาบาลศาสตรบัณทิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก
ในปี พ.ศ. 2553 ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เข้ารับการศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรุ่นที่ 11 และเป็นรุ่นเดียวกันกับนักการเมืองชื่อดังอีกหลายคน อาทิ สรอรรถ กลิ่นประทุม ประจวบ ไชยสาส์น นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ นายแพทย์บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ฯลฯ
การทำงาน[แก้]
รับราชการ[แก้]
ระนองรักษ์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ประจำโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ชั้นยศ "ร้อยตรี" เมื่อปี พ.ศ. 2520 หลังจากนั้น 3 ปี จึงได้โอนมารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จนกระทั่งลาออกจากราชการเพื่อเข้าสู่งานการเมือง
งานการเมือง[แก้]
ระนองรักษ์ ได้ลาออกจากราชการมาสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2549[1] แต่การเลือกตั้งถูกยกเลิกเป็นโมฆะ เนื่องมาจากเกิดการรัฐประหาร เดือนกันยายน พ.ศ. 2549
หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 (ชุดของนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง) และต่อเนื่องมาถึงในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ด้วย[2] ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[3] แต่ได้รับฉายาจากพรรคเพื่อไทย เป็น 1 ใน 10 รัฐมนตรีไร้ผลงาน ว่า "รัฐมนตรีไม่แคร์สื่อ"[4] ต่อมาหลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี ทำให้ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี [5]
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ต่อมาจึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคชาติพัฒนา และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 5 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
การเมืองท้องถิ่น[แก้]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา[6] และดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2563 จึงพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ เพื่อไทย ตั้งฉายา 10 รมต. ไร้ผลงาน[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม 18 ราย)
- ↑ กกต.รับรอง"ระนองรักษ์"เป็นนายก อบจ.เมืองย่าโม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๙, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๖๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า | ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มั่น พัธโนทัย | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553) |
![]() |
จุติ ไกรฤกษ์ |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่สิงหาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- พยาบาลชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- บุคคลจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.